ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การประชุมผู้ปกครองนักเรียน

 
https://drive.google.com/file/d/1Lq43RLacmlFdTUJuVo3dG043Uy4FZv2g/view
คู่มือนักเรียน


การประชุมคณะครูและบุคลากร-การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2567


1. การมอบหมายงานประจำปีการศึกษา 2567  โดย นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียน
  • งานประจำชั้นเรียน
  • งานประจำวิชา
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • งานในหน้าที่  4 ฝ่ายงาน
  • หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบ
2. มาตรการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑. ด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียน ตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียนจนออกจากโรงเรียนเดินทางถึงบ้านพักนักเรียน ดังนี้
     ๑.๑ การจัดสวัสดิภาพของนักเรียน
            ๑.๑.๑ มีการจัดครูทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยบริเวณหน้าประตูโรงเรียน ทางม้าลายข้ามถนนในช่วงเช้าและเย็น พร้อมทั้งประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของสถานศึกษา ตามความจำเป็นและเหมาะสม
            ๑.๑.๒ อาจจัดให้มีสภานักเรียนอาสา ลูกเสือจิตอาสา นักศึกษาวิชาทหารจิตอาสานักเรียนอาสาจราจร อำนวยความสะดวกการเดินทางเข้า - ออกโรงเรียนของนักเรียน
            ๑.๑.๓ ควบคุมกำกับรถยนต์รับจ้าง รับ - ส่งนักเรียนให้เป็นไปตามระเบียกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๖๒ และได้มาตรฐานความปลอดภัยของกรมส่งขนทางบก
โดยมีลักษณะ ดังนี้
                ๑) มีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
                ๒) มีเครื่องหมายเป็นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีข้อความว่า "รถรับ - ส่งนักเรียน" เป็นตัวอักษรสีดำ  ความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ด้านหน้าและด้านท้ายของตัวรถให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนใน  ระยะไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร และมีชื่อสถานศึกษาติดอยู่ด้านข้าง ทั้งสองข้างของตัวรถ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์  (ถ้ามี)
ฉุกเฉินขึ้น ดังต่อไปนี้
                ๓) กระจกรถต้องมีลักษณะโปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถและสภาพการจราจภายนอกรถได้ชัดเจน หากมีการติดฟิล์มกรองแสงเมื่อวัดการผ่านของแสงแล้วแสงต้องผ่านทั้งกระจกกันลมและฟิล์มกรองแสงได้ไม่น้อยกว่าระดับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือ
บดบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด
และไม่เป็นเหตุให้บังทัศนวิสัยในการขับขี่
                ๔) มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุ 
                            (ก) เครื่องดับเพลิง สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า ๑ เครื่อง รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่ง เกิน ๒๐ ที่นั่ง
ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า ๒ เครื่อง เครื่องดับเพลิงต้องมีขนาดพอสมควร และติดตั้งไว้ภายในรถในที่ที่เหมาะสมพร้อมที่จะใช้การได้ทุกขณะ
                            (ข) ค้อนทุบกระจกและเหล็กชะแลง ไม่น้อยกว่า ๑ อัน ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและสามารถนำไปใช้งานได้โดยสะดวก
                            (ค) มีแผ่นป้ายแสดงข้อความเตือนเรื่องความปลอดภัยในการโดยสารตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ติดไว้ภายในตัวรถในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย
                ๕) สีของตัวรถต้องใช้สีตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
           ๑.๑.๔ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย
                    ๑) ตรวจสอบและคัดกรองบุคคลภายนอกที่เข้าและออกสถานศึกษา เช่น ผู้มาติดต่อราชการ ผู้ปกครองนักเรียน หรือบุคคลภายนอกอื่น ๆ ทุกกรณีอย่างเคร่งครัด ทั้งในและนอกเวลาราชการพร้อมทั้งประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานในระดับจังหวัดระดับอำเภอ ระดับตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัย
ของสถานศึกษา ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                    ๒) จัดหาและนำกล้องวงจรปิด หรืออุปกรณ์เสริมสร้างความปลอดภัยต่าง ๆ มาใช้ในสถานศึกษาทดแทนการใช้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอและครอบคลุม

    ๑.๒ การจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมโรงเรียนให้ปลอดภัย
            ๑.๒.๑ เข้มงวดกวดขันให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย
            ๑.๒.๒ ตรวจสอบ ปรับปรุงประตูและรั้วโรงเรียน ให้มีความแข็งแรงปลอดภัย
            ๑.๒.๓ สำรวจและซ่อมบำรุงระบบป้องกัน ระบบแจ้งเตือน ระบบอาณัติสัญญาณเตือนภัยให้สามารถพร้อมใช้งาน อาทิ สัญญาณเสียงเตือนภัย ทางหนีไฟหรือประตูหนีไฟ สัญญาณเตือนอัคคีภัยเครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องตรวจจับความร้อน ระบบไฟสำรอง ระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว ระบบสายดิน ไฟฉายฉุกเฉิน ถังดันเพลิง เป็นต้น
            ๑.๒.๔ ตรวจสอบสถานที่และและจุดเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อนักเรียน อาทิ จัดระบบไฟฟ้าและ ไฟฟ้าส่องสว่างให้เพียงพอ ทั้งภายในและภายนอกอาคารเรียนและอาคารประกอบ พื้นที่อันตรายในเขตก่อสร้าง สระน้ำ บ่อน้ำ คูคลอง รางระบายน้ำ อาคารที่ชำรุด บริเวณพื้นที่รกร้าง ตัดแต่งต้นไม้ กิ่งไม้ติดตั้งกล้องวรจรปิด เป็นต้น
              ๑.๒.๕ ปรับปรุง พัฒนาสนามกีฬา สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น ให้ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสวนสนุก มยผ. ๙๙๐๒-๕๙
              ๑.๒.๖ พัฒนาห้องน้ำ ห้องส้วม ให้พร้อมใช้งาน สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะให้ได้มาตรฐาน หรือ Healthy Accessibility Safety (HAS) มีป้ายสัญลักษณ์บอกห้องน้ำชายหรือหญิงที่ชัดเจน
               ๑.๒.๗ จัดโรงอาหาร ให้มีที่นั่งเพียงพอ สะอาด ถูกสุขลักษณะ ให้ถูกต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสาธารณสุข และจัดให้มีครูดูแลนักเรียนในช่วงรับประทานอาหาร

    ๑.๓ การให้บริการดูแลด้านโภชนาการและสุขภาพ
             ๑.๓.๑ จัดรายการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าครบถ้วนตามหลักโภชนาการและเพียงพอสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงวัย
             ๑.๓.๒ บุคลากรที่มีหน้าที่ประกอบอาหารต้องปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข
             ๑.๓.๓ บำรุงรักษาภาชนะ อุปกรณ์ประกอบอาหารให้สะอาด ถูกสุขอนามัย และจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน
             ๑.๓.๔ จัดห้องพยาบาลให้มีเวชภัณฑ์ยา อุปกรณ์ปฐมพยาลเบื้องต้น มีการตรวจสอบวันหมดอายุของยา ตรวจสอบเครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ให้มีความพร้อมในการใช้งาน และจัดให้มีครูอนามัยโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบ ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
            ๑.๓.๕ จัดเตรียมจุดบริการน้ำดื่มสะอาด และตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภคและบริโภคให้ได้มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
            ๑.๓.๖ หลีกเลี่ยงการจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ อาหารและน้ำที่ปรุงรสด้วยปริมาณน้ำตาลสูง ในโรงเรียน
            ๑.๓.๗ งดจำหน่าย หรือปรุง หรือโฆษณา อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของยาเสพติด/สารเสพติดทุกชนิดรวมทั้ง สมุนไพรควบคุม (กัญชา)

    ๑.๔ การป้องกันภัยธรรมชาติ
            ๑.๔.๑ จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยธรรมชาติและวิธีการให้ความช่วยเหลือนักเรียน
            ๑.๔.๒ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน และผู้ปกครองทราบถึงสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น อาทิ ภัยพายุร้อน ภัยหนาว อุทกภัย เป็นต้น
            ๑.๔.๓ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทางราชการและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
            ๑.๔.๔ ติดตามสถานการณ์สาธารณภัยจากเว็บไซต์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
            ๑.๔.๕ สำรวจพื้นที่เสี่ยงจากเว็บไซต์ http://www.obec-hazardmap.com
            ๑.๔.๖ ซักซ้อมแผนการเผชิญเหตุ ในสถานศึกษาอย่างน้อย ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบ

๑.๕ การป้องกันโรคและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕
            ๑.๕.๑ จัดให้มีระบบคัดกรองและแยกเด็กป่วย โดยการตรวจและบันทึกสุขภาพเด็กทุกคนทุกวันเพื่อค้นหาเด็กป่วยที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล แผลในปาก อุจจาระร่วง และอาการผิดปกติอื่น ๆ  เช่น ตาแดง คางทูม ผิวหนังบวมแดงอักเสบ ตุ่มน้ำพอง ตุ่มหนอง หรือบาดแผลตามร่างกาย เป็นต้น เมื่อพบเด็กป่วยต้องป้องกันควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่เด็กอื่น ๆ โดยการแยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลีและ
ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กปกติ เช่น จัดให้อยู่ในห้องแยก แยกของเล่น และของใช้ส่วนตัว เป็นต้น
            ๑.๕.๔ สถานศึกษาต้องมีเบอร์ติดต่อโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ใกล้เคียงสถานศึกษา โดยสามารถติดต่อ ประสานงานได้ทันที
            ๑.๕.๒ สถานศึกษาจัดกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม ในการป้องกันโรคเช่น ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อน-หลังรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย หรือสัมผัสสิ่งสกปรกทุกครั้ง ปิดปาก ปิดจมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชู เวลาไอ จาม แล้วทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิดและขับถ่ายในห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ
            ๑.๕.๓ สถานศึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กนักเรียน
ให้มากที่สุด
            ๑.๕.๕ สถานศึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายในสถานศึกษา
            ๑.๕.๖ สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการระบาดของโรคหัดสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กรมควบคุมโรคกำหนด

    ๑.๖ การป้องกันภัยจากยาเสพติด/สารเสพติด
            ๑.๖.๑ เข้มงวดกวดขันให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ "ปลอดภัยยาเสพติด/สารเสพติดทุกชนิด"  บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สมุนไพรควบคุม(กัญชา) และยาเสพติดให้โทษอื่น ๆ
            ๑.๖.๒ สถานศึกษาต้องเสริมสร้างทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนรู้ การเข้าถึง รู้เท่าทันพิษภัย
ของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สมุนไพรควบคุม (กัญชา) ให้สอดรับกับการเรียนรู้แต่ละช่วงวัยเพื่อสร้างค่านิยมคนรุ่นใหม่ไม่เอาบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สมุนไพรควบคุม(กัญชา)
            ๑.๖.๓ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ฝ่าย
ปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจ สังเกต ค้นหา คัดกรอง โดยใช้ระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน
            ๑.๖.๔ สถานศึกษาต้องเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม และสมุนไพรควบคุม
(กัญชา) ในกลุ่มนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

๑.๗ การป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา
            ๑.๗.๑ เข้มงวดกวดขันให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ "ปลอดอาวุธทุกชนิด"
            ๑.๗.๒ จัดทำข้อมูลและเฝ้าระวังกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง เป็นพิเศษ
            ๑.๗.๓ จัดทำมาตรการเฝ้าระวังและแผนที่จุดเสี่ยงทั้งภายในและนอกโรงเรียน แจ้งครูและผู้เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการต่อไป
            ๑.๗.๔ ให้มีมาตรการป้องกัน ตรวจสอบและควบคุมการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
ที่เป็นอันตรายและสามารถนำมาใช้เป็นอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธในการก่อเหตุทำร้ายร่างกายนักเรียน
หรือบุคลากรในโรงเรียน
            ๑.๗.๕ โรงเรียนมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณ กริ่งเตือนภัย เสียงตามสาย ที่ใช้รับสัญญาณเตือนดังออกไปภายนอกอาคาร เพื่อความรวดเร็วในการเข้ามา
ช่วยเหลือจากผู้รักษาความปลอดภัยในโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
            ๑.๗.๖ ฝึกทักษะการเอาตัวรอดให้กับครูและผู้เรียนจัดระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างเข้มงวด โดยมีเครือข่ายจากภายนอกร่วมดำเนินการ
            ๑.๗.๗ มีป้ายประชาสัมพันธ์สายด่วน หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ฉุกเฉิน ติดไว้ทุกอาคาร
เรียน และอาคารประกอบ
            ๑.๗.๘ ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อเตรียมรับมือ
กับภัยความรุนแรงหรือภัยคุกคามทุกรูปแบบ

๑.๘ การป้องกันการเล่นการพนันออนไลน์
            ๑.๘.๑ ศึกษาสภาพปัญหาการพนันออนไลน์ที่เป็นภัยคุกคามร้ายแรง มีผลกระทบต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาการเล่นการพนันออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
            ๑.๘.๒ กำหนดแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการเล่นการพนันออนไลน์ในสถานศึกษา
            ๑.๘.๓ สร้างค่านิยมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา "ไม่เอาพนันออนไลน์"
            ๑.๘.๔ สอดส่อง ดูแล ไม่ให้มีการเล่นการพนันออนไลน์ในสถานศึกษา
            ๑.๘.๕ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้ เฝ้าระวังการสังเกตพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการติดติดการพนันออนไลน์
            ๑.๘.๖ สร้างการรับรู้ด้วยการประชาสัมพันธ์ทางต่าง ๆ ให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าใจและมีความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของการเล่นการพนันออนไลน์
            ๑.๘.๗ ขอรับคำปรึกษาหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เมื่อพบว่านักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดหรือในกำกับเสพติดการเล่นพนันออนไลน์
            ๑.๘.๘ กรณีเกิดเหตุร้ายแรง ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารายงานทันทีทางโทรศัพท์ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

๒. การเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน
        ๒.๑ การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน ครบ ๑๐๐ %
        ๒.๒ สถานศึกษาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริม/ชดเชย หรือกิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมให้กับนักเรียน
       ๒.๓ การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะการดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่อง
       ๒.๔ สถานศึกษาจัดกิจกรรมแนะแนว (Coaching) โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบแนะแนวการชี้แนะแนวทาง (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิตของผู้เรียน เพื่อพัฒนาครูแนะแนวให้มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ มีเทคนิคและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการโค้ชชิ่ง (Coaching)นักเรียน การดูแล ส่งเสริม ป้องกันและรับมือ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตสุขภาพจิตในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
        ๒.๕ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงพื้นที่ เพื่อส่งเสริม ป้องกันเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา สุขภาพจิตของนักเรียนด้วยเครื่องมือ และกระบวนการทางจิตวิทยาเบื้องต้น เพื่อพัฒนา
ความสามารถในการดำเนินชีวิตได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
        ๒.๖ สถานศึกษาจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น จากการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี รวมถึงการป้องกันภัยคุกคามการจากอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีได้

๓. ด้านเครือข่ายและการสร้างความร่วมมือ
        ๓.๑ สถานศึกษาประสานเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับจังหวัดระดับอำเภอ ระดับตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบ
เรียบร้อยและความปลอดภัยของสถานศึกษา ทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ ตามความจำเป็น
และเหมาะสม
        ๓.๒ สถานศึกษาประสานเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต บูรณาการความร่วมมือการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กนักเรียน สามารถใช้ชีวิตในวัยเรียนได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น การรู้เท่าทันสื่อ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นวินัยจราจร สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐%
        ๓.๓ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.) ในการสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ชุมชน ผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
        ๓.๔ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้พิจารณาเพิ่มความเข้มในการดูแลรักษาความปลอดภัย
ภายในสถานศึกษา โดยขอความร่วมมือหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จัดชุดคุ้มครอง นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดูแลความปลอดภัยในช่วงเดินทางไป - กลับ สถานศึกษา

๔. การจัดสนับสนุนค่าใช้จ่าย
        ๔.๑ สำหรับภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติตามแนวทางของโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  งบเงินอุดหนุน รายการค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๕ รายการ ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  โดยให้ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการดำเนินการจัดซื้อหนังสือ
เรียนให้แก่นักเรียนทุกคนทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ โดยไม่ส่งผลกระทบที่เป็นภาระ
ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน และผู้ปกครอง
        ๔.๒ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในระหว่างการจัดกิจกรรม และต้องดำเนินการจัดกิจกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
ของทางราชการ

๕. แผนเผชิญเหตุ
        ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุในสถานศึกษา มี ๓ ขั้นตอน ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัยหลังเกิดภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
        ๕.๑ ก่อนเกิดภัย
  • สำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงภัยและจุดปลอดภัยต่าง ๆ ในสถานศึกษา และพื้นที่ในชุมชน
  • กำหนดช่องทางการสื่อสารและเตรียมอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น วิทยุสื่อสาร
  • เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้มีความพร้อมอยู่เสมอ เช่น ถังดับเพลิง ยา/เวชภัณฑ์
  • กำหนดและจัดทำแผนเผชิญเหตุ ผังเส้นทางการอพยพ
  • จัดการความรู้และพัฒนาบุคลากร เช่น การทำ CPR
  • จัดทำระบบแจ้งเตือนภัยในสถานศึกษาตามลักษณะภัยต่าง ๆ
  • เฝ้าระวังเหตุทั้งในและนอกสถานศึกษาร่วมกับเครือข่าย
  • ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุแบบแห้ง(สมมุติ) เดือนละครั้ง
  • ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุเต็มรูปอย่างน้อย เทอมละ ๑ ครั้ง

        ๕.๒ ขณะเกิดภัย

  • ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ เช่น การอพยพครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่
  • แจ้งผู้เกี่ยวข้องและผู้ปกครองสำรวจครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่
  • ปฐมพยาบาล และนำผู้ได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ส่งโรงพยาบาล
  • ดูแลความปลอดภัย และทรัพย์สินของสถานศึกษา
  • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ เช่น มูลนิธิ อบต. เทศบาล อบจ. ตำรวจ

        ๕.๓ หลังเกิดภัย

  • ติดต่อผู้ปกครองนักเรียนมารับทราบ และนำนักเรียนกลับบ้าน
  • สำรวจความเสียหาย เช่น อาคารเรียน ห้องเรียน ทรัพย์สินต่าง ๆ
  • ประสานขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ
  • ทบทวน/ปรับปรุงการปฏิบัติตามแผน (AAR)
ให้สถานศึกษาปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
  1. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๓๑๒ ลงวันที่๑๗ เมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง มาตรการป้องกันภัยที่เกิดจากวาตภัย
  2. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๗๗/ว๓๑๑ ลงวันที่๑๗ เมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง มาตรการป้องกันภัยที่เกิดจากอัคคีภัย
  3. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๓๐๕ ลงวันที่๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง ขอความร่วมมือการแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าและการพนันออนไลน์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๐๐๑/ว๙๘๐ ลงวันที่๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เรื่อง แนวทางการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหารการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า กรณีพบผู้ปกครอง หรือเสพ หรือรับไว้ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  5. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๐๐๑/ว๕๔๕ ลงวันที่๒๕ มกราคม ๒๕๖๗ เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
  6. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๐๐๑/ว๑๒๙๒ ลงวันที่๒๒ มกราคม ๒๕๖๗ เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานศึกษา
  7. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๑๑๐๖ ลงวันที่๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง มาตรการป้องกันการถูกหลอกเปิดบัญชีม้าของนักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  8. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๑๑๑๐ ลงวันที่๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง มาตรการการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  9. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๑๐๔๘ ลงวันที่๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕)
  10. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/ว๙๓๕ ลงวันที่๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เรื่อง มาตรการกำกับติดตามและการตรวจสอบสถาพอาคารเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  11. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๒๗๗/๒๓๘ ลงวันที่๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ เรื่อง มาตรการกำกับติดตามและรายงานเหตุความไม่ปลอดภัย ของนักเรียนครู และบุคลากรทางการศึกษา สักงัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กำหนดการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567