ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

วันพระราชทานธงชาติไทย


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย  (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) แทนธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำตัวช้างเผือกไม่สวยงาม โดยเริ่มแรกในปี พ.ศ. 2459 ได้ประกาศใช้ธงแดง-ขาว 5 ริ้วเป็นธงค้าขายสำหรับสามัญชนไปก่อน ก่อนจะเติมสีขาบลงไปบนแถบกลางเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อระลึกถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน









สืบสานศาสตร์พระราชา สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม

                     
การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงความเป็นชาติไทย สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือการได้เรียนรู้ในด้านดนตรี นาฏศิลป์ ไทยสากลและพื้นบ้าน เนื่องจากเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษไทยโดยผสมผสานภูมิปัญญาในแต่ละเรื่องไว้อย่างกลมกลืน เมื่อเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงความเป็นมารู้คุณค่า และเกิดทักษะทางด้านดนตรี นาฏศิลป์ ไทยสากลและพื้นบ้าน จะทำให้เกิดความซาบซึ้ง และหวงแหนอนุรักษ์สืบทอดมรดกอันล้ำค่านี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกรักความเป็นไทยให้ผู้เรียนโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดนตรีและนาฏศิลป์เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชาสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ อันจะส่งผลถึงความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคมไทยสืบไป   https://photos.app.goo.gl/dQ987DKaedEGgQst8
  • ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไทย
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางด้านดนตรี นาฏศิลป์ ของท้องถิ่นไทย
  • เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมดนตรีและนาฏศิลป์ไทย โดยการเผยแพร่กิจกรรมสู่ชุมชน


โรงเรียนบ้านหัวดอยได้จัดกิจกรรม“ โครงการสืบสานศาสตร์พระราชาสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม” โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกรักความเป็นไทยให้กับ เด็กและเยาวชนและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีค่านิยมอันดีของไทยอันจะส่งผลถึงความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนและสังคมไทยและเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะความสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2564


วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (โรงเรียนบ้านหัวดอย)


รายงานผลการขับเคลื่อน  

แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหัวดอย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1
ขื่อ สกุล ผู้ประสานงาน  นายพีระศักดิ์  สกุลเวช  นางสาวณัฐปภัสร์ ปริยาภัสร์  เบอร์โทร  09 7954 2447
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรมการใช้สื่อเชิงสร้างสรรค์ เฝ้าระวัง และตรวจสอบสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

ตัวชี้วัดย่อย
  1. มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระหว่างภาคีเครือข่าย อย่างน้อยปีละ ๕ กิจกรรม
  2. มีกิจกรรมและมีสื่อรณรงค์ที่สร้างวัฒนธรรมการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อย่างน้อยปีละ ๒๐ กิจกรรมหรือชิ้น
  3. มีเครื่องมือหรือหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับผู้ผลิตสื่อ ประชาชน เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ อย่างน้อยปีละ ๑๐ เครื่องมือหรือหลักสูตร
  4. มีช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งสถานการณ์สื่อไม่เหมาะสม อย่างน้อยปีละ ๒๐ ช่องทาง
  5. มีงานวิจัยเกี่ยวกับความรู้เท่าทันสื่อ สภาวการณ์ของสื่อ การสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังสื่อ และพฤติกรรมการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ของประชาชน เด็กและเยาวชนผู้สูงอายุ และคนพิการ อย่างน้อยปีละ ๓๐ เรื่อง
  6. มีจำนวนเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสม อย่างน้อยปีละ ๑๐ เครือข่าย

โครงการ นักเรียนก้าวทันยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเซียลมีเดีย  อบรมปฏิบัติการ “พัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อ ในยุคดิจิทัล”

  1. เพื่อพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะชีวิตให้นักเรียนรู้เท่าทันสื่ออินเตอร์เน็ตในยุคดิจิทัล
  2. เพื่อสร้างกระบวนการ เรียนรู้ให้นักเรียน ในการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงและ ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
  3. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยต่อสุขภาพของตน
  4. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการป้องกัน รวมทั้งลดผลกระทบปัญหาที่จะเกิดจากสื่อในยุคดิจิทัล เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564

ประชุมหารือขับเคลื่อนงานแนะแนว



นายสังวาลย์  คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  ประธานศูนย์แนะแนวประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (โรงเรียนบ้านหัวดอย)  นางณัฐภรณ์ ท้าวแพทย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ,นายเสกสรร สิธิวัน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ , นายสินศักดิ์  แก้วจันทร์  นักจิตวิทยา สพป.ชร.เขต 1 ประชุมหารือการขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนศูนย์แนะแนวประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” เพื่อการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักเรียนอย่างรอบด้าน  ทั้งทักษะทางด้านวิชาการ  ทักษะอาชีพ  และทักษะชีวิต  มุ่งเน้นโลกทัศน์อาชีพการเสริมทักษะใหม่ (Up-Skill) และ การเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Re-Skills) เพื่อขยายผลให้ครูแนะแนวทั้งระดับประถมและมัธยม  ทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1  ต่อไป