ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

professional learning community (PLC)

            ชุมชนการเรียนรู้ระดับมืออาชีพ ฟังดูง่ายพอสมควร เป็นวิธีการที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เฉพาะเจาะจงหรือข้อมูล มักใช้ในโรงเรียนเพื่อจัดครูให้เป็นกลุ่มทำงานของการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ หากโรงเรียนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ครู-บุคลากร ต้องแยกตัวออกจากรูปแบบนวัตกรรมเดิมๆ ที่เคยสร้างขึ้น   และยอมรับรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยทั้งหมดที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงโรงเรียน 


            ความท้าทายสำหรับครูคือการสร้างชุมชนแห่งความมุ่งมั่น - ซึ่งมีฐานวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกันที่นำไปสู่ความมุ่งมั่นร่วมกันของเจ้าหน้าที่โรงเรียน  มีการแสวงหาแนวทางแก้ไขเปิดกว้างต่อแนวคิดใหม่ ๆ  เพื่อให้ทีมทำงานร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย   การส่งเสริมการทดลองเป็นโอกาสในการเรียนรู้  การตั้งคำถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นอยู่นำไปสู่การแสวงหาการปรับปรุงและการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ   วัฒนธรรมวิชาชีพในโรงเรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่นการสนทนาสะท้อนปัญหา ที่เกิดขึ้น

เงื่อนไขโครงสร้าง
  • เวลาพบปะพูดคุย
  • ความใกล้ชิดทางกายภาพ
  • บทบาทการสอนแบบพึ่งพากัน
  • โครงสร้างการสื่อสาร
  • การเพิ่มขีดความสามารถของครูและความเป็นอิสระของโรงเรียน

ทรัพยากรทางสังคมและมนุษย์  (เงื่อนไขการสนับสนุน)
  • เปิดกว้างในการปรับปรุง
  • เชื่อถือและเคารพ
  • ฐานความรู้ความเข้าใจและทักษะ
  • ความเป็นผู้นำที่สนับสนุน
  • การเข้าสังคม

"การเรียนรู้คือกระบวนการที่ประสบการณ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้หรือพฤติกรรมอย่างถาวร" 
ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา PLC อาจรวมถึงบุคคลจากหลายระดับขององค์กรที่ทำงานร่วมกันและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นขององค์กร  โดยเฉพาะ PLC มุมมองของครูใหญ่ในฐานะผู้นำการเรียนการสอนเปลี่ยนไปเป็นมุมมองที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญหลักในฐานะสมาชิกของชุมชนผู้เรียนและผู้นำ  

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

สรุปการประชุม การขับเคลื่อนการจัดการเรียนวิทยาการคำนวณ และ Coding




อ้างถึง หนังสือที่ ศธ 04043/36 ลว 7  มกราคม 2564
ตามที่ หนังสือที่อ้างถึง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (video cinference) ณ ห้องปฏิบัติการ สพฐ. (DOC) อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนวิทยาการคำนวณ และ Coding
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
การนำ Coding ลงสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ประกอบไปด้วย
1.การเตรียมความพร้อม สำรวจความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำรวจความพร้อมด้านบุคลากร และวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
2.การดำเนินงาน กำกับดูแล จัดโครงสร้างพื้นฐาน ส่งบุคลากรเข้ารับการพัฒนา
3.การประเมินผล มุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา สร้างวัฒนธรรมการประเมินอย่างมีส่วนร่วม
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

การขับเคลื่อน Coding ปีงบประมาณ 2563-2564
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2563  การอบรมออนไลน์ Coding for Teacher (C4T) 

การอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู ปีงบประมาณ 2564 (ไตรมาสที่ 2) 

โดยเป็นหลักสูตร อบรมออนไลน์ ไม่จำกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่  หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู Coding for Teacher (C4T)

ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3
ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูขั้นสูง Coding for Teacher Plus (C4TPlus)
หลักสูตรการเขียนโปรแกรม Scratch
หลักสูตรการเขียนโปรแกรมภาษา Python
หลักสูตรวิทยาการข้อมูล (Data Science)

เอกสารประกอบ  

  1. การอบรมออนไลน์ผ่านระบบ Teacherpd.ipst.ac.th
  2. รายละเอียดการขับเคลื่อน CODING การปฏิบัติ
  3. การดําเนินงาน Coding ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สสวท. และ สพฐ.
  4. การขับเคลื่อน Coding ปีงบประมาณ 2563 - 2564
  5. การปฏิรูปการศึกษาที่เข้าถึงตัวผู้เรียน
  6. แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดเพื่อเชื่อมโยงไปสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ




วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564

การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2564


การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ดำเนินการเฝ้าระวังสถานการณ์และใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด  การจัดการเรียนการสอน มห้เลือก ใน 5 รูปแบบ ให้เหมาะสมกับบริบท  รวมถึงการปิดภาคเรียนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงต้องเตรียมความพร้อมและประเมินสถานการณ์ต่อไป โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ 
ได้กำชับเรื่องโครงการอาหารกลางวันในส่วนของงบประมาณที่ได้รับ โดยเฉพาะงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก ต้องเข้าไปดูแลให้เกิดความโปร่งใส และเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมถึงการมอบหมายให้ติดตามความคืบหน้าของโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนดีสี่มุมเมือง
...........................................................................................................................................

ด่วนที่สุด!! สพฐ.แจ้งโรงเรียนกรอกข้อมูลติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2/2563 ภายในวันที่ 29 มกราคม 2564 การกรอกข้อมูลตามแบบติดตามการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ 2/2563 (เดือนธันวาคม 2563 – มกราคม 2564) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ covid.moe.go.th ที่เว็บไซต์ 
http://covid.moe.go.th/  ภายในวันที่ 29 มกราคม 2564
 แบบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ฉบับนี้ กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภาคเรียนที่ 2/2563 ของสถานศึกษา จึงขอความร่วมมือสถานศึกษาได้ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อนำไปจัดทำรายงานผลในภาพรวมต่อไป

............................................................................................................................................