ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งครูผู้สอน

โรงเรียนบ้านหัวดอย ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จะดำเนินการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นครูอัตราจ้างชั่วคราว ทำหน้าที่ครูผู้สอน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพวิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินนอกงบประมาณ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560 และ คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คำสั่งที่ 1120/2560 สั่ง ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2560

ปฏิทินการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว
ตำแหน่ง ครูผู้สอน ปีงบประมาณ 2556
โรงเรียนบ้านหัวดอย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

TTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTT

        วันที่ 18  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565      -         ประกาศรับสมัคร / รับสมัคร
        วันที่ 23  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565      -         ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
        วันที่ 24  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565      -         ดำเนินการสอบคัดเลือก
        วันที่ 26  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565      -         ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือก
        วันที่ 30  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565      -         รายงานตัว/ทำสัญญาจ้าง
        วันที่  1   มิถุนายน      พ.ศ.  2565              เริ่มปฏิบัติงาน

TTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTTT

เพื่อให้การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในโรงเรียน นายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอยได้ร่วมประชุมหารือกับคณะครู เพื่อวางแผนการดำเนินงานวางแผนการสรรหาและตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรในโรงเรียนบ้านหัวดอยในอนาคต เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนต่อไป

        

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สพป.เชียงราย เขต 1 นิเทศติดตามเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

     


    

    

                    นายสมคิด อุดปิน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และคณะ ได้นิเทศติดตามตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านหัวดอยตามโครงการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จัดการเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษามีความพร้อมในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประเด็นการติดตามเรื่องการประเมินตนเองในระบบ tsc plus ของกรมอนามัย ความพร้อมด้านอาคารสถานที่ การจัดซื้อหนังสือเรียนเครื่องแบบอุปกรณ์การเรียน และทบทวนการติดตามปัญหาอุปสรรคการจัดการศึกษาในปีที่ผ่านมา รวมถึงงานศูนย์แนะแนวประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 โดยมีนายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอยและคณะครูรายงานผลการปฏิบัติงานและรับข้อเสนอแนะ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565



บรรยากาศทั่วไปในการเปิดเรียนวันแรก ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหัวดอย  

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา

 

นายประพจน์ เทวนัง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีนายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย แจ้งวาระการประชุม และข้อราชการเกี่ยวกับการดำเนินงานการศึกษา และเตรียมความร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการในการกำหนดมาตรการและการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 /รายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา...................

และเพื่อการจัดการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียนได้ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ปีการศึกษา 2565 เสนอคณะกรรมการสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อพิจารณาเห็นชอบสำหรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการของโรงเรียนต่อไป

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เตรียมความพร้อม 1/2565

 วันที่ 9  พฤษภาคม  2565  ประชุมคณะครูเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียน และตรวจรับหนังสือเรียนจัดหนังสือเรียน ......หัวดอยพร้อมแล้ว 85%

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องในการจัดศึกษา 2565

ประเด็นการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  1. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา ในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
  3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  4. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)
  5. แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19พ.ศ. 2564 – 2565
  6. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)
  7. แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
  8. แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง)
  9. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
  10. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรี)
  11. นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565
  12. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 256๕
  13. แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางการตรวจประเมินและติดตาม
นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ได้มอบนโยบายและ หลักในการปฏิบัติงานให้กับผู้บริหารระดับสูง บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในกำกับ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างความมั่นใจให้กับสังคม โดยมอบหลักการทำงาน นโยบายหลัก และนโยบายเร่งด่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

หลักการทำงาน สร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและผู้ปกครอง โดยทุกหน่วยงานสามารถที่จะเป็นหลัก หรือเป็นที่พึ่งได้ หรือ “TRUST” ภายใต้หลักการ ดังนี้ 
T (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส 
R (Responsibility) หมายถึง ความรับผิดชอบ 
U (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว 
S (Student-Centricity) หมายถึง ผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา 
T (Technology) หมายถึง เทคโนโลยี

การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform) ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป ๓ ประเด็น ได้แก่
  1. การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (Digital Learning Reform: National Digital Learning Platform (NDLP))
  2. ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (big data for education)
  3. การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล (digital citizenship) ในด้านความฉลาดรู้ดิจิทัล (digital literacy) ความฉลาดรู้สารสนเทศ (information literacy) ความฉลาดรู้สื่อ (media literacy) เพื่อการรู้วิธีการเรียนรู้ (learning how to learn) ในการเรียนรู้ ตลอดชีวิตตลอดจนการมีพฤติกรรมที่สะท้อนการรู้กติกา มารยาท จริยธรรมเกี่ยวกับ การใช้สื่อและการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) 7 เรื่อง 
  1. ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม 
  2. หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยยึด ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ 
  3. ฐานข้อมูล Big Data มุ่งพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง 
  4. ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและ ตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน 
  5. พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ
  6. การศึกษาตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสมและเต็ม ตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
  7. การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้ที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ ในสังกัดหรือในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งโรงเรียนเอกชน มีหน้าที่ ดังนี้ 
  1. อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานแก่ผู้ตรวจราชการกระทรวง หรือผู้ที่ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย 2. จัดเตรียมบุคคล เอกสาร หลักฐาน ในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะรับ การตรวจราชการ 3. ชี้แจงหรือตอบคำถาม พร้อมทั้งให้ข้อมูลใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจราชการ
  2. จัดให้มีสมุดบันทึกการตรวจราชการตามแบบที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด 5. ปฏิบัติหรืองดการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ผู้ตรวจราชการได้ตรวจและแนะนำในระหว่าง การตรวจราชการ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบหรือพิจารณา และรายงาน ให้ผู้ตรวจราชการทราบภายในสิบห้าวัน
  3. รายงานความก้าวหน้า ความสำเร็จของผลการดำเนินการตามข้อสั่งการหรือข้อเสนอแนะ ของผู้ตรวจราชการต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ตรวจราชการ 
  4. ดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ในการตรวจราชการ
    • ประชุมผู้บริหารหน่วยงาน สถานศึกษา ชี้แจงนโยบาย/ แผนการตรวจฯ/แนวทางการตรวจฯ รับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ 
    • การตรวจราชการและติดตามประเมินผลฯ ในพื้นที่ หน่วยงาน สถานศึกษา 
    • บันทึกผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลฯ ลงในสมุดตรวจราชการ