- คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา ในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)
- แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19พ.ศ. 2564 – 2565
- แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)
- แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
- แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
- นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรี)
- นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565
- นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 256๕
- แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางการตรวจประเมินและติดตาม
นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ได้มอบนโยบายและ หลักในการปฏิบัติงานให้กับผู้บริหารระดับสูง บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในกำกับ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างความมั่นใจให้กับสังคม โดยมอบหลักการทำงาน นโยบายหลัก และนโยบายเร่งด่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หลักการทำงาน สร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและผู้ปกครอง โดยทุกหน่วยงานสามารถที่จะเป็นหลัก หรือเป็นที่พึ่งได้ หรือ “TRUST” ภายใต้หลักการ ดังนี้
T (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใสR (Responsibility) หมายถึง ความรับผิดชอบU (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวS (Student-Centricity) หมายถึง ผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนาT (Technology) หมายถึง เทคโนโลยี
การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform) ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป ๓ ประเด็น ได้แก่
- การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (Digital Learning Reform: National Digital Learning Platform (NDLP))
- ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (big data for education)
- การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล (digital citizenship) ในด้านความฉลาดรู้ดิจิทัล (digital literacy) ความฉลาดรู้สารสนเทศ (information literacy) ความฉลาดรู้สื่อ (media literacy) เพื่อการรู้วิธีการเรียนรู้ (learning how to learn) ในการเรียนรู้ ตลอดชีวิตตลอดจนการมีพฤติกรรมที่สะท้อนการรู้กติกา มารยาท จริยธรรมเกี่ยวกับ การใช้สื่อและการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
- ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม
- หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยยึด ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ
- ฐานข้อมูล Big Data มุ่งพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
- ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและ ตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน
- พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ
- การศึกษาตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสมและเต็ม ตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
- การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้ที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
- อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานแก่ผู้ตรวจราชการกระทรวง หรือผู้ที่ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย 2. จัดเตรียมบุคคล เอกสาร หลักฐาน ในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะรับ การตรวจราชการ 3. ชี้แจงหรือตอบคำถาม พร้อมทั้งให้ข้อมูลใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจราชการ
- จัดให้มีสมุดบันทึกการตรวจราชการตามแบบที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด 5. ปฏิบัติหรืองดการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ผู้ตรวจราชการได้ตรวจและแนะนำในระหว่าง การตรวจราชการ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบหรือพิจารณา และรายงาน ให้ผู้ตรวจราชการทราบภายในสิบห้าวัน
- รายงานความก้าวหน้า ความสำเร็จของผลการดำเนินการตามข้อสั่งการหรือข้อเสนอแนะ ของผู้ตรวจราชการต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ตรวจราชการ
- ดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ในการตรวจราชการ
- ประชุมผู้บริหารหน่วยงาน สถานศึกษา ชี้แจงนโยบาย/ แผนการตรวจฯ/แนวทางการตรวจฯ รับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
- การตรวจราชการและติดตามประเมินผลฯ ในพื้นที่ หน่วยงาน สถานศึกษา
- บันทึกผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลฯ ลงในสมุดตรวจราชการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีรับข้อติชมครับ