ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    ครูจุฑาณี  บั้งเงิน  นำ นักเรียน ม.1 พัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และภูมิทัศน์ การจัดแหล่งเรียนรู้สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในโรงเรียนเป็นสิ่งจําเป็นประการหนึ่งที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ต่างๆ และพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และสติปัญญา ของนักเรียน การมีแหล่งการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่หลากหลายทําให้นักเรียนได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ห้องปฏิบัติการพิเศษ สวนหย่อม สวนเกษตร สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน ฯลฯ  นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เหมาะสม สวยงาม ปลอดภัย ก็จะทําให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้โรงเรียนและนักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา


 "การสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในจังหวัดเชียงรายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" ภายใต้วิสัยทัศน์ของจังหวัดเชียงรายที่ว่า  เชียงรายเมืองแห่งความสุข  สะอาด  ปลอดภัย  น่ายล ตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาจังหวัดเชียงราย  ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อให้จังหวัดเชียงราย กลายเป็นเมืองแห่งความสุข สะอาด ปลอดภัย น่ายล โดยสอดคล้องกับศักยภาพอัตลักษณ์และภูมิทัศน์สังคมของจังหวัดเชียงรายที่แตกต่างกัน

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน (สื่อสร้างสรรค์)


การทำงานร่วมกันเป็นศิลปะในการจูงใจให้ทุกคนนำความสามารถ ความคิดในทางบวกมาผสานกัน ทั้งจากผู้บริหารกับพนักงาน หรือกับพนักงานด้วยกันก็ตาม ความขัดแย้งจะลดลงถ้าทุกคนมองในมุมบวก มองในมุมที่ต่างกันออกไปแต่คิดที่จะสร้างสรรค์งาน เพียงแต่หลายคนอาจลืมนำศิลปะหรือวิธีการที่แยบยลในการโน้มน้าวจิตใจของอีกฝ่ายให้เห็นถึงความหมายที่ต้องการสื่อสาร คำว่าดีพอหรือดีพอหรือยังจึงต้องอาศัยทัศนคติที่ดีต่อกันมาเป็นตัวประสาความคิด พร้อมกันกับความจริงใจที่แสดงออก จึงจะเกิดคำว่า “ดีพอแล้วจริง” ในองค์กร

มาตรการการพัฒนาและบำรุงรักษาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคประจำปี 2564 โรงเรียนบ้านหัวดอย



โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และภูมิทัศน์ การจัดแหล่งเรียนรู้สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในโรงเรียนเป็นสิ่งจําเป็นประการหนึ่งที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ต่างๆ และพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และสติปัญญา ของนักเรียน การมีแหล่งการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่หลากหลายทําให้นักเรียนได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ห้องปฏิบัติการพิเศษ สวนหย่อม สวนเกษตร สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน ฯลฯนอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เหมาะสม สวยงาม ปลอดภัย ก็จะทําให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้โรงเรียนและนักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

หลักการและเหตุผล
ด้วยโรงเรียนบ้านหัวดอย ได้กำหนดที่จะพัฒนางานด้านอาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนการให้บริการต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านหัวดอย ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งต้องมีการจัดภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เกิด ความสวยงาม อย่างเหมาะสม มีบรรยากาศร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ ตลอดจนสาธารณูปโภค ให้คงสภาพสวยงาม มีความเหมาะสม สะดวกพร้อมใช้อยู่เสมอเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มรประสิทธิภาพ และบรรลุได้ตามมาตรฐาน โรงเรียนบ้านหัวดอย จึงกำหนดมาตรการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
พัฒนา ปรับปรุงอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียนให้เพียงพอ มีความปลอดภัย และอื้นต่อการใช้และการเรียนการสอน

แนวทางการปฏิบัติ
1. กำหนดแนวทางวางแผนการบริหารจัดการอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคของโรงเรียน
2. การบำรุงดูแลและพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภค ให้อยู่ในสภาพที่จะใช้ประโยชน์ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย สภาพสวยงาม น่าอยู่ น่าดู น่าใช้
3. ติดตามและตรวจสอบการใช้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
4. สรุป ประเมินผล และรายงาน
มาตรการด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม
1. ดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบริเวณโรงเรียน
2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ ภายในโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการเรียนการสอน
3. กำหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่
4. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบประจำห้องและอาคาร กำหนดใหม่ผู้ควบคุม กำกับ ติดตาม
5. ดูแลซ่อมบำรุง ปรับปรุงรักษา ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสถานที่ แลสภาพแวดล้อม
6. ให้บริการด้านอาคารสถานที่แก่ข้าราชการครู บุคลาการทางการศึกษา และนักเรียน

มาตรการด้านสาธารณูปโภค
1. ควบคุมดูแล ติดตั้ง ต่อเติม และซ่อมบำรุงงานไฟฟ้าของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ควบคุมดูแลระบบนี้ประปา นำดื่ม น้ำใช้ ตามจุดต่างๆที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ให้บริการ
3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ ท่อน้ำประปาตามอาคารเพื่อป้องกันการร่วมซึมตามจุดต่างๆ
4. ตรวจสอบ ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประปาให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
5. มีการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และน้ำประปา
6. มอบหมายผู้รับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า น้ำประปา

วิศวกรรมสังคม

             วิศวกรรมสังคม (Social Engineering) คือ วิชาทางจิตวิทยาแขนงหนึ่ง มีเนื้อหาที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างมาก เกี่ยวกับ การรับรู้ข้อมูลของมนุษย์และการแสดงท่าทีต่อข้อมูลนั้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ด้วยสถิติและหาข้อสรุปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้ วิศวกรรมสังคมเกิดมาจากการนำเอาความรู้ทาง จิตวิทยา สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  และอีกหลายสิ่ง   ซึ่งรวมไปถึงการศึกษา   การออกแบบ   การแก้ไข   และการวางแผนพฤติกรรมมนุษย์  มาประยุกต์เข้าด้วยกัน

            ในสุถานการณ์โรคระบาดโคโรน่าไวรัส 2019   ในยามที่นักเรียนไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้   จึงเป็นสิ่งสำคัญต้องตระหนักและเร่งการปรับตัวเพื่อให้เกิดทักษะที่สามารถใช้ชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีทั้งดี  และเป็นอันตราย  โดยเฉพาพการใช้สื่อที่มีอยู่ให้เกิดคุณประโยชน์กับนั้กเรียน  หลักการจะมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของบุคคล  สังคม  การศึกษา  หลังจากที่ทำความเข้าใจแล้ว  ได้ วิเคราะห์  วางแผน   และออกแบบในการนำการสื่อสารให้เกิดการกระทำพฤติกรรม  ตามคุณลักษณะของผู้เรียน  ,หลักสูตรขั้นพื้นฐานฯ   และตามแนวทางที่โรงเรียนวางไว้    

            ถึงแม้ว่าอาจไม่สามารถหวังผลสัมฤทธิ์ได้ 100%   แต่หวังความสัมฤทธิผลต่อคนหมู่มากที่มีการใช้วิศวกรรมสังคม  จะถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องในเกือบทุกการกระทำในวิถีชีวิตปัจจุบัน    ซึ่งตามหลักแล้วการลงมือปฎิบัติ  และนำสู่กระบวนการในการชักนำ (ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน )  เราจะสามารถพยากรณ์พฤติกรรมของผู้เรียนได้แม่นยำ   โดยนัยแล้ว ความเกี่ยวข้องกับข้อมูลของวิศวกรรมสังคม ไม่จำกัดว่าข้อมูลนั้นได้มาอย่างไร ถูกต้อง หลอกลวง เปิดเผย หรือปิดบังและการประยุกต์ใช้วิศวกรรมสังคมก็เช่นกัน ไม่จำกัดว่า มุ่งดี หรือมุ่งร้าย หาประโยชน์ หรือให้ประโยชน์ 

              "  จากแนวคิดที่ว่า  จะทำอย่างไรถึงมีส่วนช่วยในการกำกับติดตาม ดูแลนักเรียนในระหว่างที่เรียนอยู่ที่บ้าน  "  ทั้งนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   การเรียนการสอนในบางวิชาที่มีหลักการคิดวิเคราะห์ เป็นไปได้ยากที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจได้ในขณะที่ผู้ปกครองอาจต้องทำงาน และมีภารกิจอื่นที่ไม่สามารถอธิบายให้เรียนรู้ได้ 100 %   ดังนั้น  หากวางแผนวิชาการใหม่  อยู่บ้านให้เรียนในวิชาง่ายๆ เกี่ยวกับทักษะชีวิต สังคม และไม่จำเป็นต้องเรียงตามบทเรียน และในวิชาหลัก ให้นักเรียนกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้เต็มที่......

ตัวอย่างประเด็น สถานการณ์ วิชา สังคม ศาสนา  ....... ได้ใช้สื่อ ให้เกิดการมีส่วนร่วม ระหว่างครู  ผู้ปกครอง และนักเรียน  เราสามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 

เมื่อต้องเรียนอยู่ที่บ้าน ........เมื่ออยู่ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ เด็กๆ จึงต้องเรียนอยู่ที่บ้าน สำหรับเด็กที่เป็นสมาชิกในครอบครัว โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน และสภาพการณ์แบบครอบครัว แล้วทำให้บ้านกลายเป็นบ้านแห่งการเรียนรู้ มีพ่อแม่ ผู้ปกครองทำหน้าที่เสมือนครู หรือผู้กำกับดูแลกิจกรรมที่จัดขึ้นที่บ้าน และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้มาสู่ลูกการจัดการศึกษาในลักษณะนี้ จะเอื้อเฟื้อต่อพ่อแม่ที่สนใจและต้องการจัดการศึกษาให้กับลูกด้วยตนเอง .....
                      

ตามหลักการของวิศวกรรมสังคมแล้ว การลงมือใดๆเพื่อให้พฤติกรรมของสังคมเปลี่ยนแปลงหรือโน้มนำไปในแนวทางที่วางไว้ ถือเป็นปฏิบัติการทางวิศวกรรมสังคมทั้งสิ้นไม่ว่าจะใช้เครื่องมือช่วยหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนทางวิศวกรรมสังคม แบ่งออกได้เป็นหลายส่วนดังนี้

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นเรื่องง่ายๆเช่นการเฝ้าสังเกตด้วยสายตา หรือวิธีการซับซ้อนอย่างการติดตามการใช้งานในเฟสบุคของนักเรียน สภาพปัญหาทางสังคม
  • การวิเคราะห์ข้อมูล   แค่ทำด้วยกำลังความคิดของคนในทีมงาน  หรือนำคอมพิวเตอร์เข้ามารวบรวมและจำแนกค้นหาข้อมูลที่ต้องการ 
  • การวางแผน   มีเป้าประสงค์ที่เรียบง่าย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กนักเรียน  หรือครูบุคลากร องค์กร ไปจนถึงการใช้เครื่องมือสื่อสาร  ให้เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • การดำเนินขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ อาจทำด้วยการพูดจาโน้มน้าว  หรือการสร้างระบบซับซ้อนเช่นการวางขั้นตอนงานใหม่ที่กีดกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์    ซึ่งได้ข้อสรุปมาจากการวิเคราะห์ หรือแม้แต่การหาข้อมูลความจริงจากแหล่งที่เชื่อถือได้

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กิจกรรมการเรียนรู้โดยครอบครัว ในรูปแบบออนไลน์

ท่าน ผอ. สังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ติดตาม ให้กำลังใจ นักเรียนผู้ปกครองและคุณครู ในกิจกรรมฐานการเรียนรู้บ้านหัวดอย ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยให้ผู้ปกครองและเด็กๆ ได้คุ้นเคยการเรียนรู้แบบออนไลน์ เข้าใจและได้ฝึกการเรียนรู้โดยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล


ท่าน ผอ. สังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ติดตาม ให้กำลังใจ นักเรียนผู้ปกครองและคุณครู ในกิจกรรมโครงการการเรียนรู้โดยครอบครัว ที่จัดขึ้นโดย สพป.เชียงราย เขต 1 ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยให้ผู้ปกครองและเด็กๆ ได้คุ้นเคยการเรียนรู้แบบออนไลน์ เข้าใจและได้ฝึกการเรียนรู้โดยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19 วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ฐานการเรียนรู้โรงเรียนบ้านหัวดอยจัดที่ห้องประชุมดอยเงิน นำโดยครูกรรณิกา อนุจารี และครูอมรา แก้วกาบคำ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ภัยคุกคาม 9 ประเภท

ภัยคุกคาม จำนวน 9 ประเภท มีความหมาย ดังนี้

    1.1) ภัยยาเสพติด หมายถึง ภัยจากยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย โดยวิธีการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดเป็นช่วงระยะเวลานาน หรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกประเภท ทำให้ร่างกายทรุดโทรมและต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้น และมีผลต่อร่างกายและจิตใจ เช่น สารระเหย ยาอี กระท่อม โคเคน เฮโรอีน แอมเฟตามิน รวมถึงเหล้า บุหรี่ เป็นต้น

    1.2) ภัยความรุนแรง หมายถึง ภัยที่เกิดจากการใช้กำลังหรือพลังทางกาย การทำร้ายจิตใจ การใช้ถ้อยคำหยาบคาย เหยียดหยาม ด่าทอ ดูหมิ่น เสียดสี ข่มเหง โดยเจตนาต่อตนเองและผู้อื่น หรือการแกล้งรังแกกันในชั้นเรียน  ครูลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ ครูล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน การคุกคามให้หวาดกลัว การทำลายหรือรีดไถทรัพย์สินสมบัติ กล่าวโทษผู้อื่นทำให้มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น รวมถึง การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ (cyber bullying) โดย ใช้อินเตอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ อีเมล การส่งข้อความ SMS เพื่อสร้างความเดือดร้อนใจหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น เป็นต้น

    1.3) ภัยพิบัติต่างๆ หมายถึง ภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย

            1.3.1) อุทกภัย คือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน

            1.3.2) วาตภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง

            1.3.3) ภัยหนาว คือ ภัยที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่หนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง

            1.3.4) ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน

            1.3.5) อัคคีภัย คือ ภัยอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต

            1.3.6) ธรณีพิบัติภัย หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว หลุมยุบ ดินถล่ม สึนามิ เป็นต้น ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้น โดยฉับพลัน และรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ

    1.4) อุบัติเหตุ หมายถึง ภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและไม่ตั้งใจ โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า แต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่เป็นผลเชิงลบ เช่น อุบัติเหตุจากการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน อุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ เป็นต้น

    1.5) โรคอุบัติใหม่ หมายถึง โรคติดเชื้อชนิดใหม่ มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคต เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นต้น

         โรคอุบัติซ้ำ หมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตกลับมาระบาดขึ้นอีก เช่น โรควัณโรค โรคไข้เลือดออก และโรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น

    1.6) ฝุ่น PM 2.5 หมายถึง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท และสารก่อมะเร็งอื่นๆ หากได้รับฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน หรือสะสมในร่างกาย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังหรือมะเร็งปอด เป็นต้น

    1.7) การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยความมิชอบตามกฎหมาย ด้วยวิธีการขู่เข็ญ การใช้กำลัง การบีบบังคับ การลักพาตัว การฉ้อโกง การหลอกลวง การใช้อำนาจโดยมิชอบ มีการให้ หรือรับเงิน หรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคล รวมถึงการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น การแสวงประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การกระทำอื่นเสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย

    1.8) การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน หมายถึง การแสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจา เป็นพฤติกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยการเฝ้าติดตาม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและข่มขู่ ทำให้เหยื่อเกิดความตกใจ หวาดกลัว เช่น การข่มขู่เหยื่อว่าจะทำอันตรายให้ถึงแก่ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน เป็นต้น

    1.9) อาชญากรรมไซเบอร์ หมายถึง ความผิดที่กระทำขึ้นต่อปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มของปัจเจกบุคคลด้วยเหตุจูงใจทางอาญา มีเจตนาทำให้เหยื่อเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจของเหยื่อทั้งทางตรง ทางอ้อม โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ห้องแช็ต อีเมล กระดานประกาศ และกลุ่มข่าว) โทรศัพท์เคลื่อนที่ (เอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส) เป็นต้น

ข้อแนะนำ :  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยที่เป็นแบบอย่างได้ จำแนกเป็น

  • การจัดสภาพแวดล้อมที่ให้ผู้เรียนมีความปลอดภัย หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้เรียน เช่น การจัดอาคารสถานที่ไม่ให้มีมุมอับ การแสดงสัญลักษณ์พื้นที่อันตราย และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงบริเวณตามจุดต่าง ๆ ของสถานศึกษาอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ประตู/รั้วโรงเรียน อาคารเรียน ห้องเรียน สนามเด็กเล่น โรงอาหาร ห้องน้ำ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น
  • ระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความปลอดภัย หมายถึง การสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัย เช่น มีป้ายประชาสัมพันธ์ข้อปฏิบัติการใช้สถานที่ สนามกีฬา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น 

กิจกรรมที่ส่งเสริม
















วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ภารกิจ ปีการศึกษา 2564




วิสัยทัศน์ (Vision)
โรงเรียนบ้านหัวดอย จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐาน มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ปลอดภัย ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเทคโนโลยีดิจิทัล

พันธกิจ (Mission)
  1. พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
  2. ส่งเสริม พัฒนผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่ดี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และอัตลักษณ์ “สุขภาพจิตดี มีทักษะชีวิต”
  3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพ และมีทักษะการดำรงชีวิต บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  5. ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  6. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน
  7. จัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
  8. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ HUADOI MODEL
เป้าประสงค์/เป้าหมาย (Objective/Goal)
  1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
  2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่ดี ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์และอัตลักษณ์ “สุขภาพจิตดี มีทักษะชีวิต”
  3. ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพ และมีทักษะการดำรงชีวิต บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  5. ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  6. ครูปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน
  7. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ ที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
  8. โรงเรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระบบดิจิทัลบริหารจัดการ HUADOI MODEL โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นภาครัฐ เอกชน และประชาชนกลยุทธ์สถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1
ยกระดับและพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

กลยุทธ์ที่ 2
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะค่านิยมที่ดีมีทักษะชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 3
พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลยุทธ์ที่ 4
พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการโดย การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เน้นกระบวนการสุจริต และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล






H: Hybrid (การผสมผสาน)
  • การยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  • การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบแบบผสมผสานที่หลากหลาย
  • มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21
  • การมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มการทำงานด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยกระบวนการทำงานเพื่อการพัฒนา
U: Unity (ความมีเอกภาพ)
  • กำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
  • สร้างค่านิยมร่วมการพัฒนาคุณภาพ
  • เน้นการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วม
  • การยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักในการทำภาระงาน
A: Action Plan (วางแผนการปฏิบัติ)
  • วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยภายใน-ภายนอกที่เกี่ยวข้อง
  • การวางแผนนำนโยบายสู่การปฏิบัติจริง
  • การดำเนินงานตามลำดับขั้น
  • การกำหนดภาระงานที่ชัดเจน
D: Digital Literacy (ทักษะความเข้าใจการใช้เทคโนโลยี)
  • การใช้ (Use)
  • เข้าใจ (Understand)
  • การสร้าง (create)
  • เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
O: Opportunity (เหมาะกาลเวลาและโอกาส)
  • การศึกษาบริบท และภูมิสังคม
  • การดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด
  • การนำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
  • การแสวงหาโอกาสในการพัฒนา
I: Integrity (หลักธรรมมาภิบาล/คุณธรรม)
  • มีธรรมาภิบาล ,ยึดถือหลักคุณธรรมจริยธรรม, ยึดมั่นในความชื่อสัตย์สุจริต
  • มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน,มีจรรยาบรรณในอาชีพ
  • ความมีสำนึกรับผิดชอบ มีการดำเนินการตามภารกิจที่เชื่อถือได้และไว้วางใจได้
  • องค์กรมีคุณภาพ และมีมาตรฐานที่สูง

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

stop bullying


การกลั่นแกล้งเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาและก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของอำนาจที่แท้จริงหรือที่รับรู้ พฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำๆ หรือมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำๆ เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งเด็กที่ถูกรังแกและคนที่รังแกผู้อื่นอาจเกิดปัญหาร้ายแรงและยั่งยืน

พฤติกรรมต้องก้าวร้าว
  • ความไม่สมดุลของอำนาจ: เด็กที่กลั่นแกล้งใช้อำนาจของตน เช่น ความแข็งแกร่งทางกายภาพ การเข้าถึงข้อมูลที่น่าอับอาย หรือความนิยม เพื่อควบคุมหรือทำร้ายผู้อื่น ความไม่สมดุลของอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มเดียวกันก็ตาม
  • ซ้ำซาก: พฤติกรรมการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งหรือมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง

การกลั่นแกล้งรวมถึงการกระทำต่างๆ เช่น การข่มขู่ การเผยแพร่ข่าวลือ การโจมตีบุคคลอื่นทางร่างกายหรือทางวาจา และการแยกบุคคลออกจากกลุ่มโดยเจตนา

การกลั่นแกล้งมีสี่ประเภท:

  • การกลั่นแกล้งทางวาจา  คือการพูดหรือเขียนสิ่งที่ไม่ดี การกลั่นแกล้งทางวาจารวมถึง:
    • ล้อเล่น
    • เรียกชื่อ
    • ความคิดเห็นทางเพศที่ไม่เหมาะสม
    • เยาะเย้ย
    • ขู่ว่าจะทำร้าย
  • การกลั่นแกล้งทางสังคมบางครั้งเรียกว่าการกลั่นแกล้งเชิงสัมพันธ์ เป็นการทำร้ายชื่อเสียงหรือความสัมพันธ์ของใครบางคน การกลั่นแกล้งทางสังคมรวมถึง:
    • ตั้งใจทิ้งใครสักคน
    • บอกลูกคนอื่นว่าอย่าเป็นเพื่อนกับใคร
    • ปล่อยข่าวลือเกี่ยวกับใครบางคน
    • อายใครในที่สาธารณะ
  • การกลั่นแกล้งทางกายเกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคล การกลั่นแกล้งทางกายภาพรวมถึง:
    • ตี/เตะ/หนีบ
    • คาย
    • สะดุด/ผลัก
    • การยึดหรือทำลายสิ่งของของใครบางคน
    • การทำท่าทางมือที่หยาบคายหรือหยาบคาย
  • การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่นหรือทำลายชื่อเสียงหรือความสัมพันธ์ของพวกเขา การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตรวมถึง:
    • การส่งข้อความหรือรูปภาพที่เป็นอันตราย
    • การแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์เครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram หรือ Snapchat
    • ขู่เข็ญทางโทรศัพท์หรือออนไลน์
    • ใช้โซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข่าวลือ


โครงการนักเรียนก้าวทันยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเซียลมีเดีย
อบรมปฏิบัติการ “พัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อ ในยุคดิจิทัล”

                    วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ต่างก็หลอมรวมบรรจบเข้าสู่ยุคหลอมรวมสื่อ เหล่านี้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการสื่อสารของคนในสังคมอย่างมาก โดยเป็นข้อบ่งชี้ว่าสื่อหรือเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมในแต่ละช่วงเวลาจะมีอิทธิพลต่อความคิดของคน และเป็นปัจจัยที่กำหนดกรอบแนวคิดและความเข้าใจในการมองโลกในปัจจุบันของแต่ละคน และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าส่งผลให้เกิดเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น สมาร์ทโฟน (Smartphone) แท็บเล็ต (Tablet) เป็นต้น ซึ่งเครื่องสือสื่อสารยิ่งทันสมัยยิ่งทำให้การสื่อสารบนโลกออนไลน์สะดวกรวดเร็วมากขึ้นจนกลายมาเป็น โซเชียลมีเดีล (SocialMedia) เพราะสร้างให้เกิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยต่างๆ เกิดเป็นการสื่อสาร 2 ทางที่ฉับไว เกิดการแบ่งปันข้อมูลทุกประเภทอย่างรวดเร็ว โซเชียลมีเดีย จะมีแอปใหม่ ๆ และประสบการณ์ออนไลน์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเยาวชนจึงเป็นวิธีการสนับสนุนสามารถใช้สือไปในทางที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ เป็นประโยขน์ต่อตนเองและสังคมได้มากขึ้น

                    โรงเรียนบ้านหัวดอยได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจของเด็กวัยเรียน จึงเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ มีทักษะชีวิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อ ในยุคดิจิทัล ผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ตามความสนใจของตนเอง เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ในสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ปลอดภัยและเอื้ออาทร และลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น