ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี

              

              โรงเรียนบ้านหัวดอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ได้กำหนดจัดกิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางสังคม ด้านร่างกาย จิตใจ มีทักษะ มีความปลอดภัย ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมฐานผจญภัย กิจกรรมรอบกองไฟ และการพักแรมค้างคืน ประกอบด้วย ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จำนวน 56 คน เนตรนารี จำนวน 52 คน รวมทั้งสิ้น 108 คน ครูผู้ควบคุมดูแล จำนวน 20 คน ณ สวนรุกชาติโป่งสลี อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดชียงราย ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2566 เวลา 1 คืน 2 วัน

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ


ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรคัดสรรผลงาน ที่แสดงถึงพัฒนาการ และสมรรถนะของตนเองใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงานดิจิทัล (web) ตามจุดมุ่งหมาย PA โดยอาจดำเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น วีดิทัศน์ ภาพถ่าย เพลง เป็นต้น

 หลักการและแนวปฏิบัติ “ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” ตามนโยบายเรียนดี มีความสุข จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตามคำกล่าว “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านหัวดอย  ได้จัดทำแนวทาง “การลดภาระงานเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” สำหรับครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการมอบทักษะสมรรถนะวิชาชีพครูผู้สอนให้มีความเหมาะสม และใช้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลดการบ้านมีช่องทางการสื่อสารอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด 

หลักการพัฒนาตนเองเพิ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ

  1. ลดการอบรม  ภาระงานที่ทำนอกเวลาราชการหรือที่บ้าน โดยเน้นให้ปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จในเวลาราชการ

  2. มอบหมายการอบรมและพัฒนาเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จำเป็น เช่น การอบรมพร้อมลงมือปฏิบัติโดยใช้สื่อดิจิทัล โดยสามารถให้กรอบการอบรมเหมาะสมได้เท่าที่จำเป็น โดยเน้นการส่งเสริมการสร้างสื่อ สร้างช่องทางการเรียนการสอน  ช่องทางการประกอบกิจกรรมบนสื่อออนไลน์  

  3. บูรณาการ  การอบรมพัฒนา ทั้งภายในรายวิชาที่สอนและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นภาระงานเดียว ตามความเหมาะสมกับสมรรถนะของครูและสมรรถนะของผู้เรียน

เพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง   ปรับกระบวนพัฒนาตนเอง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ  และการเรียนการสอน  ที่เน้นให้นักเรียนคิด ปฏิบัติ  ผ่านสถานการณ์จริง  ส่งเสริมกระบวนการคิดการแสวงหาความรู้ (Active Learning) เพือลดเวลาการสอนของครูในห้องเรียนให้น้อยลง โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

แนวปฏิบัติ “ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” โดยมอบหมายภาระงาน ให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น  ตามจุดเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพระบบราชการ  การบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ 

เพื่อให้การพัฒนาตนเองมีความสำคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบผลการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู  จากคุณลักษณะหรือ ธรรมมาภิบาลของบุคลากรและการทำงานในองค์กร  เพื่อทดแทนการอบรมที่ไม่สามารถลงทะเบียนกับต้นสังกัดได้ทันเวลาอย่างเหมาะสม และตามความจำเป็น

  1. ตรวจสอบปริมาณงานและภาระงานอื่นๆ ของครูรายบุคคล เพื่อให้การมอบหมายการงานมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานอื่นของครูและบุคลากรแต่ละบุคคลตามภาระหน้าที่

  2. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองที่ใกล้เคียงกัน ทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อทำให้ภาระงานลดลงร้อยละ 10-20 ครูและบุคลากรมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น

  3. วางแผนกำหนดช่วงเวลาให้ PLC และการพัฒนาตนเอง  เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทำการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมตามภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคล

  4. ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้ในช่วงเวลาว่างที่โรงเรียนและที่บ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จำเป็นต้องใช้การทำความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่ครูสามารถ PLC ร่วมกันได้  จากนั้นมอบหมายให้ครูปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้าน  หัวเรื่องการพัฒนาตนเองที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งครูสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

  5. ประเมินเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ให้เน้นวัดทักษะการคิดขั้นสูง ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์ มีข้อคำถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล

  6. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

มาตรการ รถรับ-ส่ง นักเรียน



สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย แจ้งว่า ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดเชียงรายได้รับรายงานจากศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอป่าแดด เรื่อง ผลการลงพื้นที่สอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กรณีอุบัติเหตุรถบรรทุกขนส่งพัสดุให้กับบริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ขนาด 4  ล้อ เฉี่ยวชนกับรถตู้โดยสารรับส่งนักเรียน ที่บรรทุกนักเรียนจำนวน 22  คน เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จำนวน 14 ราย ผู้บาดเจ็บ (Admit) จำนวน 1  ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยมีข้อเสนอแนะมาตรการ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อำเภอป่าแดด ดังนี้
  1. ติดตั้งสัญญาณไฟเตือน (ไฟวับวาบ) ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  2. เน้นย้ำผู้ประกอบการ/ผู้ขับขี่รถรับ-ส่งนักเรียนให้จดทะเบียนรถรับส่งนักเรียนและไม่ดัดแปลงสภาพรถ
  3. ให้สถานศึกษาในพื้นที่ให้จัดทำบัญชีผู้ประกอบการรับรถรับส่งนักเรียน โดยใช้รถที่มีมาตรฐานความปลอดภัย และตรวจสอบสภาพรถให้สมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การจัดซื้อหนังสือเรียน 2567

การจัดซื้อหนังสือเรียน ตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยกำหนดระยะเวลาการเผยแพร่บัญชีกำหนดสื่อการเรียนรู้สำหรับเลือกใช้ในสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช๒๕๕๑ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ทางเว็บไซต์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา(http://academic.obec.go.th/textbook/web) ปีการศึกษา ๒๕๖๗ จำนวน ๒ รอบ ดังนี้

  • รอบที่ ๑ วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗
  • รอบที่ ๒ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

ทั้งนี้ กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการจัดซื้อหนังสือเรียนได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๗ให้ร้านค้าส่งหนังสือเรียนถึงสถานศึกษาภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗ และให้สถานศึกษาจัดหนังสือให้ผู้เรียนทุกคนทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๑ หรือภายในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ 

ติดตามข้อมูลการเผยแพร่สื่อการเรียนรู้สำหรับเลือกใช้ในสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๗  จากเว็บไซต์สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. และพิจารณาเลือกใช้และจัดซื้อหนังสือให้นักเรียนทุกคนได้รับหนังสือก่อนเปิดภาคเรียน โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับปฏิทินการดำเนินงานเกี่ยวกับการเลือก การใช้และการจัดซื้อหนังสือเรียนฯ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

http://202.29.173.190/textbook/web/index.php

กีฬาสีพมพันธ์โรงเรียนบ้านหัวดอย ประจำปีการศึกษา 2566

                


โรงเรียนบ้านหัวดอย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 กำหนดจัดกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ภายในประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่าง วันที่ 14-15 ธันวาคม 2566 โดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นสร้างทักษะใหม่ ๆ ให้สอดคล้อง กับสภาพสังคมของยุค โดยให้ความสำคัญกับทักษะด้านพัฒนาและเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางด้านสุขภาพร่างกาย ทักษะการเคลื่อนไหว พัฒนาความเจริญทางด้านจิตใจ เสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬา ความอดทน ความเสียสละความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เสริมสร้างสมาธิ การควบคุมอารมณ์ ความสดชื่น สนุกสนาน พัฒนาการทางด้านสังคม เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน(Team Work) การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี การปรับตัวเข้ากับสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา เสริมสร้างความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกไหวพริบ การสื่อสาร รวมถึงทักษะ ในการดำรงชีวิต โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนนั้น ต่างต้องพัฒนาทักษะและกระบวนการของตัวเองที่แตกต่างกัน การจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพลศึกษา ดังนี้

1.พัฒนาความเจริญเติบโตทางด้านสุขภาพร่างกาย

1.1 พัฒนาระบบกล้ามเนื้อ ให้มีขนาดโตขึ้นมีความแข็งแรงมากขึ้น
1.2 พัฒนาระบบกระแสโลหิต ทำให้ลดการสะสมของกรดแลคติก
1.3 พัฒนาระบบเส้นโลหิต ทำให้เส้นโลหิตมีความยืดหยุ่นตัวดี
1.4 พัฒนาระบบหัวใจ ทำให้หัวใจมีขนาดโตขึ้นมีความแข็งแรงมาก
1.5 พัฒนาระบบความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตปรกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท)
1.6 พัฒนาระบบหายใจ ทำให้ปอดแข็งแรง อัตราการหายใจต่ำลง
1.7 พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดทักษะ (Skill)
1.8 พัฒนาระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาความเจริญทางด้านจิตใจ
          เสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เช่น ความอดทน ความเสียสละความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ฯลฯ

3. พัฒนาการทางด้านสังคม
           เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน(Team Work) การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี การปรับตัวเข้ากับสังคม ฯลฯ

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
           เสริมสร้างความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกไหวพริบ ฯลฯ

พลศึกษาในเชิงร่างกาย คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้
2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด
3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น
4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน
6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด

การดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วย การบูรณาการกิจกรรม  ดังนี้

1. สีแดง การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย

2. สีชมพู การรณรงค์ สถานศึกษาปลอดภัย


3. สีเหลืองการรณรงค์ การป้องกันไข้เลือดออก 

4. สีแสดการรณรงค์ยาเสพติด

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

วันดินโลก


                        วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก เพื่อให้เด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมวันดินโลก ปี ๒๕๖๖ ในหัวข้อ "soil and Water : a source of life ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต"สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ขอเชิญชวนท่านจัดกิจกรรมวันดินโลก ปี ๒๕๖๖ 

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ครูดีศรีอำเภอเมืองเชียงราย 2567

 

             สมาคมครูและบุคลากรทางการศึกษาอำเภอเมืองเชียงราย ได้จัดทำโครงการ "ครูดีศรีอำเภอเมืองเชียงราย"ขึ้นในทุกปี และปีนี้ทางสมาคมจึงได้มีหนังสือราชการ แจ้งประกาศของทางสมาคม ในการรับสมัคร"ครูดีศรีอำเภอเมืองเชียงราย" รวมทั้งประเภทการให้รางวัล เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติครูดี มีคุณธรรม มีความตั้งใจในการทำงาน เพื่อเข้ารับรางวัลในวันครูที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗ 

 กลุ่มโรงเรียนเมืองใต้ ได้พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามตามประเภทและหลักเกณฑ์เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในระดับกลุ่มโรงเรียนเมืองใต้ 






โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ได้จัดทำโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้การบริหารสถานศึกษา และปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นผลงานจากการปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น เสียสละ พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีผลงานยอดเยี่ยม สามารถขยายเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาและสาธารณชน ซึ่งจะพิจารณาคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้ได้รับรางวัล ในวันครูวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗

กลุ่มโรงเรียนเมืองใต้ ได้ดำเนินการคัดเลือกช้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 และได้ประกาศแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2530  




















วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน


แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

  1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ถือเรื่องการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็น "วาระแห่งชาติ" ที่จะต้องให้ความสำคัญในการบูรณาการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในพื้นที่อย่างจริงจัง และต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐เป็นกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และจัดทำแผนงาน มาตรการการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภารกิจ อำนาจ หน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยเน้นมาตรการเชิงรุกในการจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งด้านคน ด้านถนน ด้านยานพาหนะ และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ๑๒ คน ต่อแสนประชากร ภายในปี ๒๕๗๐
  2. ในระดับพื้นที่ให้ใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เน้นการใช้มาตรการชุมชน มาตรการทางสังคม อาทิ "เคาะประตูบ้าน" "ด่านชุมชน" "ด่านครอบครัว" เพื่อป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงหลักการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
  3. ให้จังหวัดร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่องตลอดทั้งปี ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความตระหนัก มีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการใช้รถใช้ถนน
  4. ให้ทุกภาคส่วนบูรณาการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการป้องกันและลดความเสี่ยงในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เช่น ทางตรง ทางโค้ง ทางร่วมทางแยก และทางคับขัน เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายของผู้ใช้รถใช้ถนน
  5. ให้ทุกภาคส่วนเสริมสร้าง ปลูกฝัง สร้างความตระหนักรู้ และจิตสำนึกอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ให้สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่หรือโดยสาร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รวมถึงกำหนดมาตรการองค์กรในพื้นที่ส่วนราชการให้เป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ โดยให้ความสำคัญกับอำเภอที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับแรก

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เดินทางไกลลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ เนตรนารี ประจำปีการศึกษา 2566

 

โรงเรียนบ้านหัวดอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 กำหนดจัดกิจกรรมเดินทางไกลลูกเสือสำรอง ระดับชั้น ป1-ป6 ประจำปีการศึกษา 2566 วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางสังคม ด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ และมีความสุข

 

                 โรงเรียนบ้านหัวดอย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 กำหนดจัดกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ภายในประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่าง วันที่ 14-15 ธันวาคม 2566 โดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นสร้างทักษะใหม่ ๆ ให้สอดคล้อง กับสภาพสังคมของยุค โดยให้ความสำคัญกับทักษะด้านพัฒนาและเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางด้านสุขภาพร่างกาย ทักษะการเคลื่อนไหว พัฒนาความเจริญทางด้านจิตใจ เสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬา ความอดทน ความเสียสละความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เสริมสร้างสมาธิ การควบคุมอารมณ์ ความสดชื่น สนุกสนาน พัฒนาการทางด้านสังคม เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน(Team Work) การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี การปรับตัวเข้ากับสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา เสริมสร้างความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกไหวพริบ การสื่อสาร รวมถึงทักษะ ในการดำรงชีวิต โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนนั้น ต่างต้องพัฒนาทักษะและกระบวนการของตัวเองที่แตกต่างกัน การจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพลศึกษา ดังนี้

1.พัฒนาความเจริญเติบโตทางด้านสุขภาพร่างกาย
1.1 พัฒนาระบบกล้ามเนื้อ ให้มีขนาดโตขึ้นมีความแข็งแรงมากขึ้น
1.2 พัฒนาระบบกระแสโลหิต ทำให้ลดการสะสมของกรดแลคติก
1.3 พัฒนาระบบเส้นโลหิต ทำให้เส้นโลหิตมีความยืดหยุ่นตัวดี
1.4 พัฒนาระบบหัวใจ ทำให้หัวใจมีขนาดโตขึ้นมีความแข็งแรงมาก
1.5 พัฒนาระบบความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตปรกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท)
1.6 พัฒนาระบบหายใจ ทำให้ปอดแข็งแรง อัตราการหายใจต่ำลง
1.7 พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดทักษะ (Skill)
1.8 พัฒนาระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาความเจริญทางด้านจิตใจ
          เสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เช่น ความอดทน ความเสียสละความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ฯลฯ

3. พัฒนาการทางด้านสังคม
           เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน(Team Work) การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี การปรับตัวเข้ากับสังคม ฯลฯ

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
           เสริมสร้างความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกไหวพริบ ฯลฯ

พลศึกษาในเชิงร่างกาย คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย
1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้
2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด
3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น
4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน
6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ศึกษาแหล่งเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2566


                   ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถนำทักษะกระบวนการเรียนรู้ และ ประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้จากการพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนนักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงและนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดในการได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้

ประกอบกับด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 3 มาตรา 54ได้บัญญัติไว้ว่า“รัฐต้องด าเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับรัฐอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ด าเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวข้างต้นโดยจัดท าโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพ การที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แหล่งการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพจากหลากหลายความคิดในการเรียนรู้

                        โรงเรียนบ้านหัวดอย ได้กำหนดโครงการทัศนศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งให้สอดคล้องการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เกิดทักษะจากประสบการณ์จริง สามารถน าประสบการณ์มาวิเคราะห์และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ เช่น สิ่งแวดล้อม  ประวัติศาสตร์
..........................................................................................................