แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ถือเรื่องการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็น "วาระแห่งชาติ" ที่จะต้องให้ความสำคัญในการบูรณาการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในพื้นที่อย่างจริงจัง และต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐เป็นกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และจัดทำแผนงาน มาตรการการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภารกิจ อำนาจ หน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยเน้นมาตรการเชิงรุกในการจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งด้านคน ด้านถนน ด้านยานพาหนะ และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ๑๒ คน ต่อแสนประชากร ภายในปี ๒๕๗๐
- ในระดับพื้นที่ให้ใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เน้นการใช้มาตรการชุมชน มาตรการทางสังคม อาทิ "เคาะประตูบ้าน" "ด่านชุมชน" "ด่านครอบครัว" เพื่อป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงหลักการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
- ให้จังหวัดร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่องตลอดทั้งปี ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความตระหนัก มีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการใช้รถใช้ถนน
- ให้ทุกภาคส่วนบูรณาการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการป้องกันและลดความเสี่ยงในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เช่น ทางตรง ทางโค้ง ทางร่วมทางแยก และทางคับขัน เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายของผู้ใช้รถใช้ถนน
- ให้ทุกภาคส่วนเสริมสร้าง ปลูกฝัง สร้างความตระหนักรู้ และจิตสำนึกอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ให้สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่หรือโดยสาร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รวมถึงกำหนดมาตรการองค์กรในพื้นที่ส่วนราชการให้เป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ โดยให้ความสำคัญกับอำเภอที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับแรก
มติคณะรัฐมนตรี และข้อเสนอแนะของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (การประชุมคณะกรรมการสูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖)
- มติที่ประชุมเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ ๒๑ มกราคม ของทุกปี เป็น "วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน" เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กรณีแพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยกุล (หมอกระต่าย) ถูกรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ชน ขณะเดินข้ามถนบนทางม้าลาย บริเวณหน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพฯ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยมอบหมายกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งโรงเรียนในสังกัดจัดกิจกรรมรณรงค์ในสถานศึกษา สัปดาห์ "วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน" ในระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่น ๆ อาทิ วันภาษาไทย วันสุนทรภู่ วันลอยกระทง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันงดสูบบุหรี่โลกและวันต่อต้านยาเสพติดโลก
- ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เสนอมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ - ส่งนักเรียน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
- ให้โรงเรียนมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลรถรับ - ส่งนักเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายสั่งการให้โรงเรียนกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน เรื่องความปลอดภัยการเดินทางของนักเรียนโดยเฉพาะรถรับ - ส่งนักเรียน โดยใช้ต้นแบบที่สมารถสร้างการเรียนรู้เพื่อขยายผล
- กำหนดมาตรการให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ - ส่งนักเรียน
- ให้พัฒนาหลักสูตร ชุดความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการระบบรถรับ - ส่งนักเรียนปลอดภัยให้กับบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ขับรถรับ - ส่งนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีองค์ความรู้ หลักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการรับผิดชอบดูแลการจัดการความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียนด้วยรถรับ - ส่งนักเรียน
- ให้ประสานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นค่าเดินทาง (รถรับ - ส่งนักเรียน) ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการและของทุกโรงเรียน โดยผู้บริหารโรงเรียนเป็นจุดจัดการเครือข่ายรถรับ - ส่งนักเรียน และแต่งตั้งครูงานกิจการนักเรียนทำหน้าที่เป็นครูที่ดูแลรถรับ - ส่งนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ คน
- กำหนดให้ความปลอดภัยของนักเรียนในการเดินทางด้วยรถรับ - ส่งนักเรียน เป็นวาระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีรับข้อติชมครับ