ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

Coaching Coachee - Learning Organization สำหรับครู (ผอ.สังวาลย์ คำจันทร์)

4Cs  สร้างสรรค์ แก้ปัญหา สื่อสาร ร่วมงานกับคนอื่นได้

ทักษะการคิด การทำงานเป็นทีม การใช้ภาษา และการใช้เทคโนโลยี คือสิ่งที่สำคัญอย่างมาก สำหรับการใช้ชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21  การปลูกฝัง 4Cs ต้องเสริมสร้างทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน ผ่านกิจกรรมที่ครูและผู้ปกครองได้จัดขึ้น ทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ภายใต้การดูแลอย่างเหมาะสม  เด็กจะมีทักษะในการเป็นผู้ค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจได้

C ที่ 1 : Creativity and Innovation (ทักษะความคิดสร้างสรรค์) 

  • คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็นมีกระบวนคิดเปิดกว้าง เป็นตัวของตัวเองไม่ซ้ำใคร (Originality) 
  • สามารถมองหาโอกาสและประเมินความเป็นไปได้
  • ถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้และยอมรับมุมมองผู้อื่นอย่างใจกว้าง
  • สามารถต่อยอดไอเดียความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้น

C ที่ 2 : Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะการคิดวิเคราะห์)

  • คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้
  • ช่างสังเกต มองเห็นปัญหา ตั้งคำถาม
  • อธิบายเหตุและผลตามสถานการณ์และมุมมองที่หลากหลายได้ มองภาพรวมเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ปลายทางจากระบบที่ซับซ้อนออก
  • ประเมินและตัดสินใจจากการสังเกต หารือหลากหลายมุมมอง หาข้อมูล หลักฐานข้อพิสูจน์ได้
  • ถอดบทเรียนความรู้ ข้อเสนอแนะหรือสิ่งที่ควรปรับปรุงจากประสบการณ์
  • แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ต่างไปจากเดิมหรือรู้จักประยุกต์หนทางแก้ปัญหามาใช้กับเรื่องใหม่ได้

C ที่ 3 : Communication (ทักษะการสื่อสาร)

  • สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม
  • มีทักษะการพูด เขียน และสื่อภาษากายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (เช่น เพื่อแจ้งข่าว สอน โน้มน้าว หรือปลุกกระตุ้น)
  • รับข้อมูลและตีความหมายได้ถูกต้อง รวมถึงนำเสนอต่อผู้อื่นได้ชัดเจน
  • ปรับใช้สื่อและเทคโนโลยีให้เหมาะกับจุดประสงค์ และสามารถประเมินประสิทธิภาพของแต่ละสื่อได้
  • สื่อสารได้ในทุกบริบทที่แตกต่างหลากหลาย (รวมถึง ใช้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา)

C ที่ 4 : Collaboration (ทักษะการทำงานเป็นทีม)

  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทำงานเป็นทีม ยืดหยุ่น ปรับตัวให้ทำงานในสถานการณ์หรือทีมที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  • ยอมรับความสามารถและความแตกต่างของปัจเจกบุคคลควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ทักษะ 4Cs สำคัญอย่างไร

                      ทักษะ 4Cs   ไม่ใช่แค่เป็นแนวทางสู่ความสำเร็จในบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียว   แต่เป็นทักษะที่แต่ละคนจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแยกไม่ออกด้วย  ดังนั้น  ทักษะอ่านเขียนกับวิชาสามัญ  ไม่เพียงพออีกต่อไป  ทักษะ 4Cs จึงกลายมาเป็นทักษะบังคับที่ต้องมีและจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้  ต้องคิดสร้างสรรค์เป็น แก้ปัญหาเองได้  สื่อสารและร่วมงานกับคนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    

4 C1  Creativity and Innovation

ความคิดสร้างสรรค์ใช่เพียงพรสวรรค์  แต่คือเรื่องที่สร้างกันได้ จากการฝึกให้แก้ปัญหา คิดเป็นระบบ หรือแค่ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน นักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมองเห็นสิ่งที่เชื่อมต่อจากการวางแผนภาพใหญ่มาสู่รายละเอียดเล็กน้อยได้  ฝึกคิดและมองจากหลายมุมจนเคยชิน  ยังก่อเกิดไอเดียที่มีทางเลือกหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น  ท้ายที่สุดทักษะนี้จะส่งต่อไปถึงผู้อื่นได้ โดยอาจเป็นแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกันและใช้ประโยชน์จากความคิดเหล่านั้น การฝึกตั้งคำถามปลายเปิดให้ได้ฝึกคิด ฝึกหาเหตุและผลด้วยตนเองบ่อยครั้ง จะเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะว่าอะไรคือ ข้อเท็จจริง อะไรคือ สมมุติฐาน มีวิจารณญานในการแก้ปัญหา ส่งผลให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และอธิบายเหตุและผลตามสถานการณ์และมุมมองที่หลากหลายได้ รู้จักประยุกต์วิธีแก้ปัญหามาใช้กับเรื่องใหม่ ๆ และปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้

4c3 Critical thinking

การให้โอกาสเด็กแก้ปัญหาด้วยตนเอง อาจเป็นแค่เกมแก้ปริศนา หรือจับผิดรูปภาพอย่างง่ายๆ สำหรับศตวรรษที่ 21 ข้อมูลต่างๆ ทั้งข่าวสาร หรือโฆษณาเสิร์ฟถึงมือเราเพียงแค่เลื่อนหน้าจอ ทักษะการคิดวิเคราะห์หรือวิจารณญาณจึงสำคัญมาก  ต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือความคิดเห็น  อะไรคือข้อเท็จจริง  สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนไม่ใช่การบอก  แต่ต้องให้เขาเข้าถึงข้อมูลเองแล้วเปิดโอกาสให้ซักถาม  แสดงความเห็น สร้างบรรยากาศให้บ้านและโรงเรียนเป็นพื้นที่ให้เขากล้าถกเถียงโต้แย้งสิ่งที่คิดกับผู้อื่นบนพื้นฐานของเหตุและผล  กระตุ้นด้วยคำถามว่า “เพราะอะไร” เพื่อให้เขาอธิบาย

4C4 Collaboration

การทำงานเป็นกลุ่ม  เป็นทีม  ใช่แค่ในชั้นเรียน   เมื่อเราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทักษะนี้จึงจำเป็น กิจกรรมที่จะปลูกฝังให้มีทักษะนี้ได้คือการทำงานเป็นทีม  ภายใต้เป้าหมายบางอย่างร่วมกัน แต่สิ่งที่ควรนำมาใส่ใจคือ  ทำอย่างไรให้เคารพความคิดต่างของผู้อื่น  ในขณะที่ยังรักษาจุดยืนของตนเองเอาไว้ได้แม้ยังไม่มีใครเห็นด้วยทำอย่างไรให้พวกเขามองเห็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของทีม ชั้นเรียน ครอบครัว ชุมชน และ สังคม ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น จึงต้องควบคู่ไปกับการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นด้วย

4C5 Communication

 การถ่ายทอดความคิดเห็นของตนให้ชัดเจนและรวดเร็ว  แต่ละวันที่การสื่อสารเกินกว่าครึ่งในชีวิตประจำวัน  อาศัยตัวหนังสือผ่านแอพพลิเคชั่น ข้อความ หรืออีเมล ความหมายที่สื่อออกไปโดยขาดโทนเสียงกำกับอาจส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกผู้รับ ผิดเพี้ยนไป   เช่นเดียวกับการพูดคุยต่อหน้าหรือผ่านโทรศัพท์  น้ำเสียงและกิริยาท่าทางเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อสารที่จะส่งไปยังผู้รับเช่นกัน  เจตนาคืออะไร  ผู้รับคือใคร  ก็มีผลในการสื่อสาร  ตัวอย่างการจัดกิจกรรม  ครูอาจให้นักเรียนทำแคมเปญโฆษณาสินค้า จัดกลุ่มอภิปรายในชั้นเรียนหัวข้อที่พวกเขาสนใจ  โต้วาที  หรือเปิดพื้นที่ให้ได้แสดงความสามารถบ่อยๆ


รู้อ่านรู้เขียน (literacy) คือ ไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ (reading & writing) แต่ต้อง “อ่านเข้าใจเขียนรู้เรื่อง” คือ เข้าใจความหมายของคำต่างๆ และสามารถสื่อสารคำต่างๆ เหล่านั้นออกมาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หรือ “รู้ศัพท์รู้ภาษา”

รู้คณิต (numeracy) คือ ไม่ใช่แค่คิดเลขเป็น (arithmetic)  แต่ต้องมีความสามารถตีความและเข้าใจความคิดต่างๆ ที่สื่อสารออกมาในรูปของคณิตศาสตร์ (mathematics) เช่น เลขคณิต, พีชคณิต, เรขาคณิต, ตรีโกณมิติ ฯลฯ และสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตได้

รู้ ICT (information and communications technology literacy) คือ เข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน

การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) คือ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล และต้องสามารถตัดสินคุณค่าของเรื่องต่างๆ ที่คิดนั้นด้วย

การสื่อสาร (Communication) คือ ต้องมีความสามารถใช้ศัพท์ใช้ภาษา, ใช้ ICT และใช้จิตวิทยาเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จได้

การทำงานร่วมกัน (Collaboration) คือ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้, การร่วมมือกับคนหลายคนที่อาจมีพื้นฐานต่างกัน ทั้งแนวคิด, ความเชื่อ, หรือความรู้ เพื่อทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ ให้ประสบความสำเร็จได้  การสร้างสรรค์ (Creativity) คือ มีความสามารถในการจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อันจะนำไปสู่สิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ๆ, วิธีการใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

การส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

Ø ความรู้เกี่ยวกับโลก(Global Awareness)

Ø ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)

Ø ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)

Ø ความรู้ด้านสุขภาพ (Hlitearcy)

Ø ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่

Ø ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

Ø การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

Ø การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศสื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

Ø  ความรู้ด้านสารสนเทศ

Ø  ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

Ø  ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

Ø ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

Ø การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

Ø ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

Ø การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้(Accountability)

Ø ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

 

 

 

 

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

ราชกิจจานุเบกษาที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษา


การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 
จัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต)

– ตามแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์
– ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (20 กุมภาพันธ์ 2566)

คลิก >>> ประกาศฉบับราชกิจจานุเบกษา

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566

โครงการนิเทศวิถีใหม่ด้วยการใช้พื้นที่เป็นฐานผสานนวัตกรรมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ด้วยกลยุทธ์ 7 C



                การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย   โดยการนิเทศภายในผสานการ Coaching กับศึกษานิเทศก์ โรงเรียนบ้านหัวดอย ตามโครงการนิเทศวิถีใหม่ด้วยการใช้พื้นที่เป็นฐานผสานนวัตกรรมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ด้วยกลยุทธ์ 7 C  โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1




วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

เลือกตั้งประธานนักเรียน ประจำปี 2566

     


                                             

             โรงเรียนบ้านหัวดอย  ดำเนินการจัดกิจกรรมเลือกตั้งประธานสภานักเรียน  ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 8  มีนาคม  2566 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย  มีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และฝึกปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจิตอาสาในการพัฒนาองค์กรและสังคม   ด้วยมุ่งหวังให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง  รู้หลักการและขั้นตอนของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

การคัดเลือกประธานนักเรียน
  • เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกตนเองเกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและหน้าที่ตามระบบประชาธิปไตย
  • เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทั้งปวงของโรงเรียน
  • เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยการปฏิบัติจริง

               จากวิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกายความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตนคติ  ซึ่งจำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   บนพื้นฐานความเชื่อว่า   ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ  โดยได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551  
               โรงเรียนซึ่งมีหน้าที่ให้การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามวิถีประชาธิปไตย อันได้แก่ คารวธรรมสามัคคีธรรม ปัญญาธรรมหลักธรรมาภิบาลอย่างเหมาะสมกับวัย   และระดับการศึกษา  รวมทั้งจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ  การเคารพกฎหมายความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์   มีความภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีจิตอาสา   รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ   และดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในด้านวินัย  และกรณีที่มีนักเรียนไม่ผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์กลุ่มงานกิจการนักเรียน  จึงได้ดำเนินการจัดโครงการสภานักเรียนขึ้นเพื่อดูแลช่วยเหลือในเรื่องของพฤติกรรมให้กับนักเรียน   ให้นักเรียนรู้จักตนเอง ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบวินัยที่โรงเรียนกำหนดและพัฒนตน  ให้มีคุณธรรมจริยธรรมที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ที่จะพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้นำที่ดีของสังคมในอนาคต

ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ นักเรียนชั้น ม.3


การเดินทางการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ นักเรียนชั้น ม.3
ประจำปีการศึกษา 2565 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง วันที่ 23- 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดชียงราย เขต 1  ได้พิจารณาอนุญาตให้โรงเรียนบ้านหัวดอย  นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 29 คน  ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา โดยมี นายพีระศักดิ์  สกุลเวช, และนางจารุวรรณ  อภินันท์ธรรม  เป็นผู้ควบคุมนักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ในจังหวัดเชียงใหม่  โดยเริ่มออกเดินทางวันที่ 23 เดือน กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2566  เวลา ๐๕.๐๐ น.  และจะไปตามเส้นทางเชียงราย – เชียงใหม่  โดยพาหนะรถยนต์บัสโดยสารปรับอากาศ  จะพักค้างคืนที่จังหวัดเชียงใหม่  และกลับถึงโรงเรียนบ้านหัวดอยวันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2566

เส้นทางการเรียนรู้

"Art in Paradise Chiang Mai  ศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์

พิพิธภัณฑ์ภาพวาด 3 มิติ นำเสนอผลงานภาพวาดที่อาศัยเทคนิค และความเชียวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็นภาพลวงตาเสมือนจริง (Illusion Art) สถานที่ที่ให้ผู้ชมสัมผัส และมีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ให้ความรู้สึกราวกับว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด (Realistic Art) ก่อตั้งโดย คุณ จาง กิว ซ็อก (Mr. Jang Kyu Suk) ชาวเกาหลีใต้ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยจิตรกรชาวเกาหลีระดับมืออาชีพทั้งหมด 10 ท่าน"


วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

แนวทางการให้ความรู้นักเรียน-สนับสนุนการศึกษา



1. รับเรื่องที่สำคัญตามนโยบายจากต้นสังกัด
2. รวบรวมข้อมูลข่าวสารสื่อ โดยทำเป็นดัชนีหัวเรื่องในการให้ความรู้นักเรียนทุกวัน
3. บันทึกรวบรวมหัวข้อที่ครูให้ความรู้เป็นระบบ

ผลการดำเนินงาน
สามารถจัดทำดัชนีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายของการศึกษา ทำตามเหตุการณ์ การรวบรวมและเตรียมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับนักเรียน



















แนวทาง

1. รับเรื่องที่สำคัญตามนโยบายจากต้นสังกัด
2. รวบรวมข้อมูลข่าวสารสื่อ โดยทำเป็นดัชนีหัวเรื่องในการให้ความรู้นักเรียนทุกวันหน้าเสาธง
3. บันทึกรวบรวมหัวข้อที่ครูให้ความรู้หน้าเสาธงเป็นระบบ

ผลการดำเนินงาน
สามารถจัดทำดัชนีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายของการศึกษา ทำตามเหตุการณ์ การรวบรวมและเตรียมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับนักเรียน