ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิบัติงาน

ผลงานการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการจัดการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา
  • การใช้ Google Workspace for Education ในการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน
  • Canva
  • Microsofe 365

เป้าหมาย - ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านหัวดอยทุกคน
  1. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อการสอนที่สร้างผลลัพธ์มากขึ้น
  2. ทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ด้วยเอกสาร, ชีต, สไลด์, ฟอร์ม, Sites และ Jamboard
  3. สื่อสารกับผู้เรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และผู้ดูแลระบบได้จากทุกที่ด้วย Google Meet, Chat และ Gmail และเครื่องมือใรเครื่องหมายการค้าของ Google
  4. มีส่วนร่วมกับนักเรียนได้โดยตรงจากภายใน Classroom เพื่อมอบแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานให้ออกมาดีที่สุด สร้างเสริมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มด้วยการตั้งค่าการช่วยเหลือพิเศษรายบุคคลซึ่งเหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน


พิธีมอบหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันที่ 22 ก.พ. 67 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีมอบหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เล่ม 43 ฉบับพระราชทาน ให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 205 แห่ง โดยมี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนโรงเรียน ร่วมพิธี ที่หอประชุมโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

นายสังวาลย์ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านหัวดอย   เข้าร่วมประชุมสัมมนา เรื่อง "แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑" ในวันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ หอประชุมโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับความรู้ความเข้าใจ และระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งคณะกรรมาธิการได้รับทราบข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่มีความหลากหลายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การจัดกิจกรรมเลือกตั้งประธานสภานักเรียนประจำปีการศึกษา 2567



การจัดกิจกรรมเลือกตั้งประธาน-สภานักเรียนประจำปีการศึกษา 2567 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ตระหนักและเห็นความสำคัญในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และฝึกปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจิตอาสาในการพัฒนาองค์กรและสังคม ด้วยมุ่งหวังให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง รู้หลักการและขั้นตอนของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย



วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ONet2566

 

ECO-SCHOOL บู จิตอาสา

 

                     โรงเรียนบ้านหัวดอย โรงเรียน ECO SCHOOL ระดับต้น ปี 2565 โดยโรงเรียนได้ดำเนินการ
พัฒนางานบริหารทั่วไปให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้และความปลอดภัยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีทักษะการดำรงชีวิตบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่แทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  ปลูกฝังให้เด็กมีมีจิตสาธารณะ  มีความขยัน  มีระเบียบ  วินัย  มีคุณธรรม  ส่งผลให้สังคม  สภาพแวดล้อมน่าอยู่  มีสภาพแวดล้อมที่ 

จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับการพัฒนา  ตั้งแต่นักเรียนชั้น อนุบาล 1- ม.3 
ทั้งสิ้น  357  คน  คิดเป็นร้อยละร้อย




วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดความปลอดภัยรอบด้าน ในสถานศึกษา

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ กำหนดดำเนินการกิจกรรมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แก่แกนนำนักเรียนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดความปลอดภัยรอบด้าน
ในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ ๑ - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ วัดห้วยปลากั้ง สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๕ และมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๒ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต ๑ เพื่อสร้างผู้นำด้านการเสริมสร้างความปลอดภัย และให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้
ด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา 
                โรงเรียนบ้านหัวดอย โดยนายสังวาลย์  คำจันทร์  มอบหมายให้นายพีระศักดิ์  สกุลเวช นำนักเรียนจำนวน 12 คน  เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมนักเรียนแกนนำด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ ๑ - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 






วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม

การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมต่อยอดให้นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา โดยการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ปีการศึกษา ๒๕๖๖

ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน
การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมต่อยอดให้นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา โดยการน้อมนำ
พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีปฏิบัติตน
บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามสอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนหรือกรอบแนวคิดคุณธรรม ๕ ประการ ได้แก่ 
๑) ความพอเพียง 
๒) ความกตัญญู 
๓) ความซื่อสัตย์ สุจริต 
๔) ความรับผิดชอบ
๕) อุดมการณ์คุณธรรม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ จึงแจ้งประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในสังกัดที่มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องส่งผลงานเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. รายละเอียด (ตามส่งที่ส่งมาด้วย) โดยจัดส่งผลงานมายังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายใน วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

แข่งขันหนังสั้นการบูลลี่ในสถานศึกษา

                 ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานจัดทำแนวทางการดำเนินการป้องกัน "การบูลลี่ในสถานศึกษา" ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในด้านการป้องกันและแก้ไขการล้อ กลั่นแกล้งรังแกดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่น (bully) รวมทั้งจัดทำมาตรการและแนวทางการปฏิบัติตั้งแต่ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่มีความชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสื่อประชาสัมพันธ์ คลิปภาพยนตร์สั้น และอินโฟกราฟิกส์ (Info graphics)ซึ่งครอบคลุมตามมาตรการสถานศึกษาปลอดภัยทั้ง ๓ ป คือ ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปรามในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ขอส่งสื่อแนวทางการดำเนินการป้องกัน "การบูลลี่ในสถานศึกษา" แก่โรงเรียนในสังกัดเพื่อนำไปใช้และเผยแพร่ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษารายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

ลิงค์ภาพยนตร์สั้น และ Motion Graphic

P.M 2.5 โรงเรียนบ้านหัวดอย

วีดีโอจาก Greenpeace Thailand

                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ แจ้งสถานศึกษาในสังกัด กำชับ มาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเน้นย้ำให้ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัดความแจ้งแล้วนั้น ซึ่งในขณะนี้สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 มีความรุนแรง ในหลายพื้นที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัย
ของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมในการรับผลกระทบจากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ให้โรงเรียนติดตาม สถานการณ์และ เฝ้าระวัง พร้อมให้ดำเนินการ


โรงเรียนบ้านหัวดอย
ประชาสัมพันธ์ให้ครูและนักเรียน ดำเนินการ ดังนี้

  1. ดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
  2. พิจารณาปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม
  3. สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
  4. ลดการทำกิจกรรมนอกอาคาร ในกรณีที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ (สีเหลือง)
  5. งดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง ในกรณีที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ(สีส้ม) และมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง)
  6. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อยู่เสมอ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย เพื่อขอรับการสนับสนุน

ความรู้เพิ่มเติมจากอนามัยโลก

มลพิษทางอากาศคือการปนเปื้อนของสภาพแวดล้อมในร่มหรือกลางแจ้งด้วยสารเคมี กายภาพ หรือชีวภาพใดๆ ที่ปรับเปลี่ยนลักษณะทางธรรมชาติของบรรยากาศ

อุปกรณ์สันดาปในครัวเรือน ยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และไฟป่า เป็นแหล่งมลพิษทางอากาศที่พบบ่อย มลพิษที่เป็นประเด็นสำคัญด้านสาธารณสุข ได้แก่ ฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มลพิษทางอากาศภายในและภายนอกอาคารทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจและโรคอื่นๆ และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต 

ข้อมูลของ WHO แสดงให้เห็นว่าประชากรโลกเกือบทั้งหมด (99%) หายใจเอาอากาศที่เกินขีด  จำกัดแนวปฏิบัติของ WHO  และมี  มลพิษ ในระดับสูง โดยประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางต้องทนทุกข์ทรมานจากการสัมผัสสูงสุด

คุณภาพอากาศมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสภาพอากาศของโลกและระบบนิเวศทั่วโลก ปัจจัยหลายประการที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ (เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล) ก็เป็นแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน นโยบายในการลดมลพิษทางอากาศจึงเป็นกลยุทธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ทั้งด้านสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ ช่วยลดภาระของโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ พร้อมทั้งมีส่วนช่วยในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะสั้นและระยะยาว

ทุกคนได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศเท่าเทียมกันหรือไม่? หรือประชากรบางส่วนมีความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศมากกว่ากัน?  

ระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพแตกต่างกันไปในแต่ละประชากร ผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมักจะเสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศมากขึ้น เนื่องจากมีระดับมลพิษทางอากาศที่สูงขึ้นในแต่ละวัน และอัตราความชุกของโรคที่สูงขึ้นซึ่งได้รับผลกระทบทางลบจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศ เช่น โรคหอบหืด ประชากรที่อาศัยอยู่ในสลัมหรือใกล้ทางหลวงหรือถนนที่พลุกพล่าน ไม่สามารถเข้าถึงการปรุงอาหารที่สะอาด หรือในบางอาชีพ เป็นตัวอย่างอื่นๆ ของประชากรที่เสี่ยงต่อผลกระทบด้านลบจากมลพิษทางอากาศ  

ความยากจนด้านพลังงานเชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศในครัวเรือนอย่างไร 

ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศในครัวเรือนมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความยากจน ความเสี่ยงเหล่านี้ไม่มีการกระจายอย่างเท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ หรือแม้แต่ภายในประเทศต่างๆ ผู้คนในแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตกประสบปัญหาสุขภาพในอัตราสูงสุดจากการสัมผัสกับมลพิษภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในครัวเรือน ภายในภูมิภาคเหล่านี้ ภาระโรคตกหนักมากที่สุดในครัวเรือนในชนบท เนื่องจากพวกเขาขาดทรัพยากรในการได้รับเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่สะอาดขึ้น ผู้คนในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจึงพึ่งพาเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ที่พวกเขาสามารถรวบรวมได้อย่างอิสระ เช่น ไม้และมูลสัตว์ และเตาปรุงอาหารแบบดั้งเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพ  

เหตุใดผลกระทบด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีจากมลพิษทางอากาศในครัวเรือนจึงมีมากขึ้นสำหรับผู้หญิงและเด็ก? 

ภายในครัวเรือนที่ยากจน ผู้หญิง เด็ก และผู้สูงอายุต้องรับผลกระทบด้านสุขภาพและผลกระทบอื่นๆ จากมลพิษทางอากาศในครัวเรือน ในประเทศระดับล่างและปานกลางส่วนใหญ่ ผู้หญิงและเด็กทำงานบ้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพลังงานในครัวเรือน รวมถึงการรวบรวมและแปรรูปเชื้อเพลิง ดูแลเตาไฟ และปรุงอาหาร ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่ความเครียดและการบาดเจ็บเรื้อรัง เนื่องจากพวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องครัวหรือในพื้นที่อยู่อาศัยที่มีมลพิษ ผู้หญิงและเด็กจึงมีอัตราการสัมผัสกับฝุ่นละอองและมลพิษอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากเตาและไฟแบบเปิดที่สูงขึ้น 

นอกจากนี้ การพึ่งพาเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ในครัวเรือนที่ไม่มีประสิทธิภาพยังจำกัดเวลาที่มีอยู่ โดยเฉพาะผู้หญิง ในการสร้างรายได้ การศึกษา และโอกาสอื่น ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทำนองเดียวกัน ครัวเรือนที่มีแหล่งแสงสว่างที่สะอาดและเชื่อถือได้อย่างจำกัดหรือไม่มีเลย (เช่น ไฟฟ้า) อาจสูญเสียโอกาสสำหรับกิจกรรมด้านการศึกษาและสร้างรายได้นอกเวลากลางวัน 

ความยากจนด้านพลังงานทำให้ผู้คนตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ เสียเวลา ทำลายสุขภาพของพวกเขา และจำกัดการเข้าถึงวิถีชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษา และเส้นทางอื่น ๆ ที่หลุดพ้นจากความยากจน 

ที่มา https://www.who.int/teams/environment-climate-change-and-health/air-quality-and-health/health-impacts/equity-impacts

ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน



ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน มีดังนี้

  1. นโยบายระดับชาติในการแก้ปัญหาความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน“รัฐบาลประกาศเป็นปีแห่งการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน”โดยให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาเป็นหลักสูตรแกนกลางด้านความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน
  2. ให้ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนโดยมีการจัดการเรียนรู้ “ฉีดวัคซีนจราจร” แก่เด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศและมีการพัฒนาและขยายผลครู/วิทยากร (Train the Trainer)ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้คู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นแนวทางหลักของประเทศในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งหลักสูตร “วัคซีนจราจร”ได้รับการสนับสนุนโดยกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/Roadsafety67
  3. ให้มีการถ่ายทอดแผนงานสู่ระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นและสถานศึกษา ภายใต้การอำนวยการ ศปถ.จังหวัดโดยคณะอนุกรรมการด้านความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีการจัดตั้งครบทุกจังหวัดและมีบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานในจังหวัด เช่น ศึกษาธิการจังหวัด ขนส่งจังหวัด ปภ.จังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ท้องถิ่น เป็นต้น
  4. ตั้งเป้าหมายชัดเจนลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตในกลุ่มเด็กและเยาวชนปีละ 5%ทั้งในระดับประเทศและในระดับจังหวัดเพื่อทำให้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนบรรลุเป้าหมาย









โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียน

จังหวัดเชียงราย แจ้งว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างกระแสการรับรู้บอกต่อถึงประโยชน์ และเชิญชวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพฯ เพื่อเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่อไป