ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สื่อป้องกันเด็กจมน้ำในโรงเรียน และป้องกันอันตรายต่างๆ


กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานเผยแพร่ความรู้  สื่อป้องกันเด็กจมน้ำในโรงเรียน และประชาสำพันธ์ให้ดำเนินการ  ดังนี้ 
  1. สนับสนุนให้เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปทุกคนมีโอกาสได้เรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (Survival Swimming Cumiculum) โดยครอบคลุมความ รู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำทักษะการเอาชีวิตรอดและทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำตามโครงการ“ ว่ายน้ำเพื่อชีวิต” (Life Saving) ที่สพฐ. ได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง 
  2. เพิ่มโอกาสให้เด็กได้ฝึก ปฏิบัติบนบกเรื่องการใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้อย่างง่ายเพื่อเอาชีวิตรอดหากตกน้ำและวิธีการช่วยเหลือเพื่อตกน้ำในเบื้องต้นกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถเข้าถึงสระว่ายน้ำได้ 
  3.  ฝึกปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงของแหล่งน้ำต่างๆเพื่อ ป้องกันการตกน้ำจมน้ำของเด็กโดยเฉพาะเหล่งน้ำตามธรรมชาติเช่นแหล่งเพื่อการเกษตรห้วยหนองคลองบึงเป็นต้นซึ่งพบว่ามีเด็กวัยเรียนตกน้ำจมน้ำมากที่สุด 
  4. สำรวจแหล่งน้ำที่เป็นจุดเสี่ยงภายในโรงเรียนและ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เกิดความปลอดภัยเช่นทำป้ายเตือนสร้างรั้วติดตั้งอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายเช่นถังแกลลอนพลาสติกเปล่าขวดน้ำพลาสติกเปล่าไม้เชือกเป็นต้น 
  5. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความเสี่ยงของการจมน้ำและมาตรการป้องกันโดยสามารถดาวน์โหลดสื่อการสอนของกองป้องกันการบาดเจ็บกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/index.php 
  6. สำหรับโรงเรียนที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อ Interactive Multimedia สามารถเข้าถึงได้ที่ http://ddc.moph.go.th/dip/video.php 
  7. สำหรับโรงเรียนที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อ AR ป้องกันการจมน้ำหรือสื่อเทคโนโลยีโลกเสมือน (Augmented Reality) หรือ http://ddc.moph.go.th/dip 
ทั้งนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต ๑ และโรงเรียนบ้านหัวดอย  จึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งแนวทางการดำเนินงานป้องกันเด็กจากอันตรายต่างๆ ตามแนวทางของกรมควบคุมโรง กระทรวงสาธารณะสุข

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

[ย้อนหลัง] ประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 6/2565


ที่ประชุมจึงมีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  • หลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่ ใช้สำหรับการคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา เฉพาะสังกัด สพฐ. และให้ สพฐ. เป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณในการดำเนินการสอบแข่งขัน
  • ให้ สพฐ. กำหนดวัน และเวลาในการดำเนินการคัดเลือกทั้ง ใน สพป. สพม. และ สศศ. (เดิม กศจ. กำหนด)
  • กรณีที่ สพป. สพม. และ สศศ. กำหนดวันและเวลาในการรับสมัครพร้อมกัน ให้ผู้สมัครเลือกสมัครแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น
  • กำหนดเงื่อนไขในการบรรจุและแต่งตั้งฯ ว่า ในวันบรรจุและแต่งตั้งจะต้องไม่ติดเงื่อนไข การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นใดที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ทั้งนี้ ให้เพิ่มเติมเรื่องกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมในหลักสูตรการคัดเลือกด้วย สำหรับ รายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ว 8/2562 ที่ ก.ค.ศ. มีมติเห็นชอบไปแล้ว ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. นั้น ที่ ศธ.0206.6/115 ลงวันที่ 31 มกราคม 2565 นั้น มอบ สพฐ. พิจารณา หากไม่มีประเด็นใดใน (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการ ฯ กระทบกับรายละเอียดดังกล่าว เห็นชอบให้ใช้รายละเอียดสำหรับการดำเนินการคัดเลือกฯ ในครั้งนี้ได้ แล้วให้ สพฐ. รายงานให้ ก.ค.ศ. ทราบ

“จากนี้ไป สพฐ.จะเป็นผู้บริหารจัดการเอง โดยมี ก.ค.ศ.เป็นเหมือนที่ปรึกษา รวมถึงมาตรฐานของข้อสอบ ซึ่งเดิมที ก.ศ.จ.แต่ละพื้นที่จะเป็นผู้จัดทำ ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการสร้างมาตรฐานข้อสอบทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวกัน เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา เกณฑ์ใหม่นี้จะใช้กับการคัดเลือกรอง ผอ. และ ผอ.โรงเรียน สพฐ. ที่มีการสมัครกันอยู่ในขณะนี้ด้วย ส่วนการคัดเลือกตำแหน่งรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัดอื่น ๆ ยังคงใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกเดิม” รมว.ศธ. กล่าว

เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ เลื่อนระดับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปและตำแหน่งประเภทวิชาการ

เห็นชอบในการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนระดับตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป และตำแหน่งวิชาการ ในระดับที่สูงกว่าเดิม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนด้านสนับสนุนทางวิชาการ เช่น ธุรการ การเงิน พัสดุ ซึ่งปัจจุบันได้นำหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มาใช้ ส่งผลให้การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งล่าช้า ไม่มีความสะดวกในการบริหารจัดการ

โดยเกณฑ์ใหม่ให้ กศจ.ต้นสังกัด สามารถประเมินเพื่อการเลื่อนตำแหน่ง รวมถึงการกำหนดตัวชี้วัด วิธีการ และเกณฑ์การตัดสินได้ ตามระเบียบที่ ก.ค.ศ.กำหนด

“ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบาย และหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ในการดูแลบุคลากรในสังกัด รวมถึงความตั้งใจที่จะแก้ไข ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว เป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้แต่ละส่วนงานมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากขึ้น”

เห็นชอบ การกำหนดมาตรการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานบุคคล จากการตรวจสอบคำสั่งการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 19 (13) กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ก.ค.ศ. ไว้อย่างชัดเจนว่า มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานการศึกษามาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ และมาตรา 20 กำหนดให้สำนักงาน ก.ค.ศ. มีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.ค.ศ. และ (7) กำกับ ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ ของหน่วยงานการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา

ดังนั้น เพื่อให้มีมาตรการในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลที่เป็นรูปธรรม ก.ค.ศ. จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานบุคคล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กำหนดให้การส่งคำสั่งการบริหารงานบุคคลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • กำหนดระยะเวลาในการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบคำสั่งฯ จำนวน 2 ครั้ง
    – ครั้งที่ 1 ไม่เกิน 30 วัน หากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ ให้แจ้งมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือจากสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อแจ้งเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือขอขยายเวลาและกำหนดวันที่จะส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ค.ศ.
    – ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 30 วัน หากพ้นกำหนด ส่วนราชการ/หน่วยงานการศึกษายังไม่ดำเนินการ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. รายงานหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำระบบการรายงานการส่งคำสั่งและเอกสารที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการ/หน่วยงานการศึกษา ไว้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. otepc.go.th เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งทราบและดำเนินการ

ELSE STUDIO-blog: ระบบข้อมูลการจัดการการศึกษา

ELSE STUDIO-blog: ระบบข้อมูลการจัดการการศึกษา: ระบบข้อมูลการจัดการการศึกษา (Education management information system) มีเป้าหมายเพื่อรวบรวม บูรณาการ ประมวลผล รักษา และเผยแพร่ข้อมูลและข้อม...

RE SKILL 365

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี 2565

 

             วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานธงคณะลูกเสือแห่งชาติธงลูกเสือกรุงเทพมหานคร และธงลูกเสือประจำจังหวัด และทรงเป็นองค์ประธานในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ ประจำปี 2565 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ คณะผู้บริหาร สลช. ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ บุคลากรลูกเสือ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เฝ้ารับเสด็จฯ
            

ในโอกาสนี้ สำนักงานลูกเสือจังหวัดเชียงราย ได้พิจารณาคัดเลือกหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่โรงเรียนบ้านหัวดอย เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงราย ให้เข้าร่วมค่ายลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ระหว่างวันที่ ๒๙ มิถุนายน – ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระยะเวลา ๕ คืน ๖ วัน โดยมีครูพีระศักดิ์ สกุลเวช เบอร์โทรศัพท์ เป็นผู้กำกับควบคุมดูแลกิจกรรมครั้งนี้