ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ประเพณีวัฒนธรรมทางศาสนา วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา ประจำปี 2564

                

                   นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  นำคณะครูและตัวแทนนักเรียน ถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้้ำฝน ที่วัดในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน  5 หมู่บ้าน  ในตำบลท่าสาย ในวันศุกร์ที่  23  กรกฎาคม  2564   วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

ประวัติวันเข้าพรรษา

            ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"  แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ก็คือ

  1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
  2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
  3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
  4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

ประเภทของการเข้าพรรษา  การเข้าพรรษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
  2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

เครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษา

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณรที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น

มีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง อีกทั้งมีการ "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

1.ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
2.ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
3.ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
4.อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
5.อยู่กับครอบครัว


วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2564

              นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2564   ในปีนี้ครูหัวหน้าช่วงชั้นพร้อมด้วยคณะครูบุคลากร  ได้นำนักเรียนจัดกิจกรรมไหว้ครู ภายใต้สถานการณ์ การควบคุมโรคติดต่อ covid-19  แต่ถึงแม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19   ก็มีวิธีในการป้องกันและจัดระเบียบกิจกรรมต่างๆ  ให้ออกมาเป็นไปตามประเพณีวันไหว้ครู เพื่อให้ศิษย์จะได้แสดงถึงคุณธรรมภายในจิตใจ คำว่า “ไหว้ครู” ถึงแม้ว่าจะเป็นถ้อยคำที่แสนธรรมดาสามัญที่ใครหลายๆ คนต่างเข้าใจกันดีอยู่ แต่จริงๆ แล้ว วันไหว้ครู คือวันที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะได้แสดงความเคารพและสักการะต่อครูบาอาจารย์  ผู้มีพระคุณ  ตลอดจนผู้เสียสละชี้ทางและให้แสงสว่างแก่ศิษย์โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก


                    สิ่งที่สำคัญที่สุด ทางโรงเรียน โดยท่าน ผอ.สังวาลย์    คำจันทร์ ได้ให้โอวาทนักเรียน และเน้นให้เห็นความสำคัญของครูคนแรก   ซึ่งก็คือคุณพ่อ  คุณแม่   และผู้ปกครองของนักเรียนทุกคน ที่เป็น "ครู" สอนนักเรียนอยู่ที่บ้าน  ในภาวะวิกฤติของโรคระบาดโควิด-19  ที่นักเรียนต้องเรียนอยู่ที่บ้าน โดยมีคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองคอยกำกับดูแล
                 

                    การจัดพิธีไหว้ครูในปีนี้ ต่างจากปีก่อน ขอชื่นชมครูและนักเรียนที่สามารถบรูณาการ การจัด กิจกรรมเสร็จสิ้น สมบูรณ์แบบได้อย่างงดงาม  แม้ว่าจะมีอุปสรรณ์   ทั้งในเรื่องของการเรียนกาสอน และการสื่อสาร โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้รวบรวม VDO และภาพน่าประทับใจมาให้ชม 



สำหรับกรวยดอกไม้ธูปเทียน และสัญลักษณ์ของพิธีไหว้ครู จะประกอบด้วย
  • ดอกเข็ม ความหมายคือความหลักแหลม เฉลียวฉลาด
  • ดอกมะเขือ ความหมายคือความอ่อนน้อมถ่อมตน
  • หญ้าแพรก ความหมายคือความเจริญงอกงามได้ทุกสถานการณ์
  • ข้าวตอก ความหมายคือความแตกฉานในสรรพวิชา

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ , IT มีความเสี่ยง , ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับไอทีหรือความเสี่ยงไซเบอร์ใด ๆ ที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะที่ข้อมูลได้รับการชื่นชมว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและมีความสำคัญมาช้านาน การเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจความรู้และการปฏิวัติทางดิจิทัลทำให้องค์กรต่างพึ่งพาข้อมูล การประมวลผลข้อมูลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านไอทีมากขึ้น เหตุการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประนีประนอม IT ในทางใดทางหนึ่งจึงสามารถส่งผลกระทบในทางลบต่อกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรหรือภารกิจได้ ตั้งแต่ระดับที่ไม่สำคัญไปจนถึงระดับความหายนะ


🎯ความเสี่ยงด้านไอที ผลกระทบต่อภารกิจสุทธิเมื่อพิจารณา: ความน่าจะเป็นที่แหล่งภัยคุกคามเฉพาะจะใช้ช่องโหว่ของระบบข้อมูลโดยเฉพาะ (โดยบังเอิญหรือโดยเจตนา) ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากสิ่งนี้ควรเกิดขึ้น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับไอทีเกิดจากความรับผิดทางกฎหมายหรือการสูญเสียภารกิจอันเนื่องมาจาก:
👉การเปิดเผย ดัดแปลง หรือทำลายข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต (เป็นอันตรายหรือโดยไม่ได้ตั้งใจ)
👉ความผิดพลาดและการละเว้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
👉การหยุดชะงักของไอทีเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น
👉ความล้มเหลวในการใช้ความระมัดระวังและความขยันหมั่นเพียรในการ
👉ดำเนินการและการทำงานของระบบไอที

มีกองกำลังพื้นฐานสี่ประการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง ซึ่งนำไปใช้กับความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย สิ่งเหล่านี้คือทรัพย์สิน ผลกระทบ ภัยคุกคาม และโอกาส คุณมีความรู้ภายในและสามารถควบคุมสินทรัพย์ได้อย่างยุติธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ซึ่งมีมูลค่า คุณยังมีสิทธิ์ควบคุมผลกระทบซึ่งหมายถึงการสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน อย่างไรก็ตามภัยคุกคามที่เป็นตัวแทนของศัตรูและวิธีการโจมตีนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ โอกาสเป็นไวลด์การ์ดในกลุ่ม โอกาสจะเป็นตัวกำหนดว่าภัยคุกคามจะเกิดขึ้น สำเร็จ และสร้างความเสียหายเมื่อใดและเมื่อใด แม้ว่าจะไม่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของคุณอย่างเต็มที่ แต่ก็สามารถกำหนดแนวโน้มและมีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยงได้