ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านหัวดอย สพป.เชียงราย เขต 1


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านหัวดอย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

หัวดอยศึกษาน่าชมสง่างาม
พรั่งพร้อมด้วยความสวยงามรื่นรมย์
อุดมศึกษาหาใครเทียมทัน
หัวดอยเรานั้นเลื่องชื่อลือเกียรติไกล

การศึกษาดนตรีกีฬาเราสามารถ
มารยาทอบรมบ่มนิสัย
พุทธิจริยพลานามัย
ระเบียบวินัยหัวดอยไม่น้อยหน้าใคร

หัวดอยศึกษาลือชาก้อง
มาเถิดพี่น้องเพื่อนพ้องเทิดเอาไว้
เกียรติคุณน้ำเงินขาวระบือไกล
เราส่งเสริมให้การศึกษาสถาพร

หัวดอยเราจงดำรงสืบไป
จวบฟ้าดินไหม้สลายม้วยมรณ์
เกียรติยศคือแหล่งศึกษาลือชาขจร
เป็นอนุสรณ์คู่ฟ้าสถาบันไทย
......................................................................................
ฟังเพลงได้ที่ https://drive.google.com/open?id=0ByWBF83mlKO6aGhPWXFXT21Gb1E
นักเรียนหรือศิษย์เก่าของโรงเรียน
โปรดตรวจสอบเนื้อร้องอีกครั้งหนึ่ง
หากพบข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข
โปรดแจ้งเพื่อแก้ไขได้ที่
www.facebook.com/khonitnakorn2011
หรือความเห็นใต้บทความนี้
จะน้อมรับนำข้อติชมเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป


* โดย ฐานข้อมูลเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สพฐ. *

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กำหนดการอบรมครูด้วยรูปแบบออนไลน์

กำหนดการอบรมครูด้วยรูปแบบออนไลน์ 

 รายละเอียดหนังสือ ที่ศธ04043/2893
 เรื่อง : แจ้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการอบรมและยกเลิกการจัดสรรงบประมาณการจัดอบรมครู [ปกติ ปกติ]
 เลขทะเบียนหนังสือรับ : 525
 หนังสือลงวันที่ : 22 กค 2563
 ส่งโดย : กลุ่มอำนวยการ [ประภากร เป็นแผ่น]
 วันเวลาที่ส่ง : 23 กค 2563 08:57:18 น.
 เนื้อหาโดยสรุป
แจ้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการอบรมและยกเลิกการจัดสรรงบประมาณการจัดอบรมครู

คลิ๊ก  หลักสูตรสำหรับครูผู้สอน ระดับปฐมวัย

รูปแบบการอบรม
  • อบรมโดยดูคลิปวีดิทัศน์ใน  https://stemreg.ipst.ac.th ได้ด้วยตนเองที่ศูนย์อบรม ที่บ้าน หรือที่โรงเรียน
  • สามารถเข้าระบบเพื่อศึกษาคลิปวีดิทัศน์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และดูซ้ำได้
  • แต่ละหลักสูตรมีเวลาในการอบรม 3 สัปดาห์ และเมื่อจบการอบรมแล้วท่านยังสามารถย้อนกลับมาดูคลิปวีดิทัศน์เพื่อทบทวนความรู้ได้ทั้งใน  https://stemreg.ipst.ac.th
  • หลังจากดูคลิปวีดิทัศน์แล้ว จะต้องทำแบบทดสอบเก็บคะแนนระหว่างการอบรม คลิปละ 3 ข้อ โดยส่งได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
  • ท่านสามารถติดต่อขอรับเอกสารประกอบการอบรมได้ที่ครูพี่เลี้ยงของศูนย์อบรมปลายทางที่ลงทะเบียนไว้ หากท่านไม่มีข้อมูลครูพี่เลี้ยง สอบถามได้ที่ smttraining@ipst.ac.th
  • หากมีความประสงค์จะทำปฏิบัติการตามคลิปวีดิทัศน์ ท่านสามารถจัดหาอุปกรณ์ได้ด้วยตนเอง หรือรวมกลุ่มกับเพื่อนครูอย่างน้อย 7 คน (หรือตามดุลพินิจของครูพี่เลี้ยง) เพื่อยืมชุดอุปกรณ์จากครูพี่เลี้ยงของศูนย์อบรมปลายทางที่ลงทะเบียนไว้
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
  • ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือปฐมวัย ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วในเว็ปไซต์  http://stemreg.ipst.ac.th  
  • ครูที่เคยเข้ารับการอบรมด้วยระบบทางไกล รอบครูพี่เลี้ยง ที่ไม่ได้เข้าสอบหลังอบรม หรือสอบไม่ผ่าน
  • ตรวจสอบศูนย์การอบรมและจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ที่  http://stemreg.ipst.ac.th/attendee/center
  • หากสนใจสมัครเข้าร่วมอบรมเพิ่มเติมสามารถสอบถามสิทธิ์ได้ที่ smttraining@ipst.ac.th หรือ inbox มาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สุขภาพฟันและอนามัยในช่องปาก

โรงเรียนขอขอบคุณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาย  สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย  ตรวจสุขภาพฟันและช่องปากนักเรียนชั้น ม.1

                 














เรียนรู้ด้วยศาสตร์พระราชา

    
อยู่อย่างมีค่าบนวิถีพอเพียง
แนวคิดหรือ หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความน่าสนใจ ที่สมควรนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เราสามารถนำหลักการทรงงานของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  โดยใช้หลักการทรงงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9  ดังนี้

1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น ทั้งเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย

2. ระเบิดจากภายใน
จะทำการใดๆ ต้องเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ คนไม่เข้าใจก็อาจจะไม่ทำก็เป็นได้ ในการทำงานนั้นอาจจะต้องคุยหรือประชุมกับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือคนในทีมเสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงเป้าหมายและวิธีการต่อไป

3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้าม แล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ เสียก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยมองไปที่เป้าหมายใหญ่ของงานแต่ละชิ้น แล้วเริ่มลงมือทำจากจุดเล็กๆ ก่อน ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ แก้ไปทีละจุด งานแต่ละชิ้นก็จะลุลวงไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ “ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก ก็ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน มันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปัญหาที่ทำให้เราปวดหัวให้ได้เสียก่อน เพื่อจะให้อยู่ในสภาพที่ดีได้…”

4. ทำตามลำดับขั้น
เริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน เมื่อสำเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จำเป็นลำดับต่อไป ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ถ้าทำตามหลักนี้ได้ งานทุกสิ่งก็จะสำเร็จได้โดยง่าย… ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนเสียก่อน ได้แก่ สุขภาพสาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร สามารถปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517

5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน “การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ในสังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”

6. ทำงานแบบองค์รวม
ใช้วิธีคิดเพื่อการทำงาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

7. ไม่ติดตำรา
เมื่อเราจะทำการใดนั้น ควรทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติดอยู่กับแค่ในตำราวิชาการ เพราะบางที่ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดติดทฤษฎีมากจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้เลย สิ่งที่เราทำบางครั้งต้องโอบอ้อมต่อสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม และจิตวิทยาด้วย


8. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติจะได้ประหยัดงบประมาณ…”

9. ทำให้ง่าย
ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงาน การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญอย่างยิ่งคือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศโดยรวม “ทำให้ง่าย”

10. การมีส่วนร่วม
ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาละประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง”

11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เป็นเพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้…”

12. บริการที่จุดเดียว
ทรงมีพระราชดำริมากว่า 20 ปีแล้ว ให้บริหารศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่งทั่วประเทศโดยใช้หลักการ “การบริการรวมที่จุดเดียว : One Stop Service” โดยทรงเน้นเรื่องรู้รักสามัคคีและการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือเราด้วย

14. ใช้อธรรมปราบอธรรม
ทรงนำความจริงในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่ปกติ เช่น การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยให้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ

15. ปลูกป่าในใจคน
การจะทำการใดสำเร็จต้องปลูกจิตสำนึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์กับสิ่งที่จะทำ…. “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและจะรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง”

16. ขาดทุนคือกำไร
หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีต่อพสกนิกรไทย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

17. การพึ่งพาตนเอง
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด

18. พออยู่พอกิน
ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

19. เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับบุคคล องค์กร และชุมชน

20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ

21. ทำงานอย่างมีความสุข
ทำงานต้องมีความสุขด้วย ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขเราจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุขเราจะชนะ สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว หรือจะทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นก็สามารถทำได้ “…ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น…”

22. ความเพียร

การเริ่มต้นทำงานหรือทำสิ่งใดนั้นอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่น ดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลาและไม่ได้พบกับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้ำ

23. รู้ รัก สามัคคี
รู้ คือ รู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ปัญหานั้น
รัก คือ เมื่อเรารู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว เราต้องมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหานั้น
สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

โครงการสืบสานศาสตร์พระราชาสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม

วันที่ 18,19,25  กรกฎาคม  2563

                    นายสังวาลย์  คำจันทร์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  ได้กล่าวถึงจิตเจตนารมณ์และความความตั้งใจของทางโรงเรียน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ที่จะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ด้านดนตรีและนาฏศิลป์  โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้กับเด็กนักเรียน  ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนที่มีความสำคัญยิ่ง  ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ  เป็นผู้สืบสาน สืบทอด ศิลปวัฒนธรรมอันดีของไทยต่อไป  

                    โรงเรียน  ขอขอบคุณการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลท่าสาย   ท่านวิทยากรตลอดจนคณะครูนักเรียนที่เสียสละเวลา  เพื่อช่วยให้การดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย  “ โครงการสืบสานศาสตร์พระราชาสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม” 

วิทยากร 
กลองสบัดชัย  - พ่อครูมานิตย์ เจริญเกษมทรัพย์  / คุณสุพิชญา เทย์เลอร์
ดนตรีพื้นเมือง - คุณศันสนีย์ อินสาร
นาฏศิลป์         - คุณอรอุมา ชัยสวัสดิ์







ประชุมแผนงานโครงการ กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา


กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมเชียงราย เขต ประชุมแผนงานโครงการ ประจำปี 2563  วันที่ 10 กรกฎาคม 2563   โรงเรียนบ้านหัวดอย


วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 นายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย และ นางกรรณิกา อนุจารี ครูผู้รับผิดชอบและดูแลการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม ร่วมประชุมกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อแนะแนวทางการศึกษาพิเศษเรียนรวม ประจำปีการศึกษา 2563

https://www.youtube.com/watch?v=xj_Cne6e7WE


วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมสภานักเรียนระดับสถานศึกษา

            กิจกรรมลงคะแนนเลือกตั้งประธานสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อการปลูกฝังวิถีประชาธิปไตยให้กับนักเรียน โดยการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกิจกรรมนำหลักปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตยไปใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ มีการส่งเสริมกิจกรรมการเลือกตั้ง เช่น การเลือกตั้งหัวหน้าห้อง การเลือกประธานนักเรียน ประธานชุมนุม ประธานชมรม 

......................................................................................................................................................................

ประธานสภานักเรียน โรงเรียนบ้านหัวดอย ประจำปีการศึกษา 2563 

เด็กชายณัฐพล  มีโชค 


คณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน โดยมีการดำเนินงานดังนี้

  1. โรงเรียนแต่งตั้งคณะครูที่ปรึกษากิจกรรมสภานักเรียนของโรงเรียน/ประชุมวางแผน/ศึกษาแนวทางการดำเนินงาน สภานักเรียน
  2. จัดทำระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญของโรงเรียนว่าด้วยสภานักเรียน/คู่มือแนวทางการดำเนินงานสภานักเรียน
  3. ครูที่ปรึกษาสนับสนุนให้มีการตั้งกลุ่ม/ทีม/พรรคเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน
  4. โรงเรียนมีการดำเนินการรับสมัครผู้แทนสภานักเรียน
  5. เปิดโอกาสให้มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้แทนนักเรียน
  6. ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนนักเรียนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้   ตรวจบัญชีรายชื่อ – แสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง – รับบัตรเลือกตั้ง – เข้าคูหากากบาท – หย่อนบัตรเลือกตั้ง  
  7. มีการนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการกิจกรรมการส่งเสริมให้นักเรียนได้ตระหนักถึความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้สังคมและชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ระบบสารสนเทศ 2563

ระบบสารสนเทศของ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(Office of the Basic Education Commission : OBEC)

  1. ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC)
  2. ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา(Education Management Information System : EMIS)
  3. ระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (Buildings : B-OBEC)
  4. ระบบจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ (Material : M-OBEC)
  5. ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน (Conditional Cash Transfer : CCT)
  6. ระบบจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา (P-School Checking Program)
  7. ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี (e-Budget)
  8. ระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายฯ สพฐ.  (electronic monitoring and evaluation system : e-MES)






ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี

               นายสังวาลย์     คำจันทร์    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย นำหน้ากากอนามัย ที่ได้รับอนุเคราะห์  จากผู้ใหญ่ใจดี แจกจ่ายให้กับเด็กนักเรียนทุกคน เพื่อสำรองให้นักเรียนมีไว้ใช้ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ในโอกาสนี้ โรงเรียนบ้านหัวดอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุก ๆ ท่าน ที่มอบความรักความห่วงใยให้เด็ก ๆ นักเรียน และทางโรงเรียนยังรับหน้ากากสำหรับสำรองเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อ เพื่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน

  

สร้างความเข้าใจ เรื่องทรงผม

นายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย พบปะนักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจ เรื่องทรงผมนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ และ เน้นย้ำเรื่องการทำความเคารพ มารยาท ที่ดีต่อครูบาอาจารย์และคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง  


วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันเข้าพรรษา-การถวายผ้าอาบน้ำฝน

 นายสังวาลย์     คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย พร้อมด้วยตัวแทนคณะครู และนักเรียน โรงเรียนบ้านหัวดอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ถวายต้นเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน ที่วัดในชุมชน  5 หมู่บ้าน ได้แก่


วัดศรีสุพรรณ
สำนักสงฆ์เกาะแก้ว
หมู่ที่ 6 บ้านหัวดอย
หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว
วัดป่าเขื่อนแก้ว
หมู่ที่ 9 บ้านเขื่อนแก้ว
วัดป่าหัวดอย
หมู่ที่ 10 บ้านห้วยฮ้อม
วัดป่าธรรมประทีป
หมู่ที่ 11 บ้านเวียงคุ้ม
สำนักสงฆ์เทพพรมทอง
หมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ




 ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

                   วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
              ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า “บวชเอาพรรษา”
ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา-การถวายผ้าอาบน้ำฝน
                  ผ้าอาบน้ำฝน หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ (ผ้าวัสสิกสาฎก) คือ ผ้าสำหรับใช้นุ่งในเวลาอาบน้ำฝนหรืออาบน้ำทั่วไป การทำผ้าอาบน้ำฝน ต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ โดยประมาณที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ คือ เป็นผ้าผืนยาว 6 คืบ พระสุคตกว้าง 2 คืบครึ่ง คิดโดยประมาณของช่างไม้ปัจจุบันยาวรวม 4 ศอก กับ 3 กระ เบียด กว้างราว 1 ศอก 1 คืบกับ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าทำให้ยาวหรือกว้างเกินประมาณนี้ไป พระภิกษุใช้สอยต้องอาบัติ ต้องตัดส่วนที่กว้างหรือยาวเกินประมาณนั้นออกเสีย จึงแสดงอาบัติได้  กำหนดถวายระหว่างข้างขึ้นเดือน 8 ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำไป แต่ในปัจจุบันโดยมากกำหนดวันถวายเป็นหมู่ ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือ ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน


อานิสงส์ ของการถวายเทียนพรรษา
การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงค์ คือ
  • ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน
  • ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริ
  • ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี
  • เจริญไปด้วยมิตรบริวาร
  • ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
  • เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
  • เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
  • หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน

ไหว้งามอย่างไทย สร้างวินัยเชิงบวก

 
โดย. ท่าน ผอ.สังวาลย์    คำจันทร์

                   "การไหว้” เป็นภาษาท่าทางที่ใช้แสดงความเคารพ ทักทาย โดยการยกมือสองข้างประนม พร้อมกับยกขึ้นไหว้ในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความหมายของ การขอบคุณ การขอโทษ การยกย่อง การระลึกถึง และอีกหลายความหมายสุดแท้แต่โอกาส การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่ปัจจุบันกำลังเลือนหายและถูกละเลยอย่างน่าเสียดาย ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมที่งดงามเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม (Land of Smile) ที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลก กำลังสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งที่การไหว้เป็นมารยาทแบบไทยๆ ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ขอบคุณท่านผู้ใหญ่ใจดี

โรงเรียนบ้านหัวดอย  ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี   คุณครู กรรณิกา อนุจารี และคุณแจ่มจันทร์ เขื่อนเพที่รักและห่วงใยเด็กๆ มอบหน้ากากอนามัยให้กับทางโรงเรียนสำหรับแจกนักเรียนที่ไม่มี ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ


เปิดเทอมวันแรก ปีการศึกษา 2563

             

 
                         นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  และคณะครูทีมงานระบบดูแล  ครูอนามัย  ทำความเข้าใจกับนักเรียน  
ในวัน เปิดเทอมวันแรก รับวิถีใหม่ New Normal  ในโรงเรียน  โดยได้ให้แนวทางและเน้นย้ำให้นักเรียนร่วมมือปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด  เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID19)   ในโอกาสนี้  ท่านผู้อำนวยการคนใหม่  ได้พบปะกับนักเรียนอย่างเป็นทางการ


เปิดเทอมวันแรก รับวิถีใหม่ New Normal

               

             ดร.สมบูรณ์ ธรรมลังกา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านหัวดอย ในวัน เปิดเทอมวันแรก รับวิถีใหม่ New Normal ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19  โดยได้พบปะและพูดคุยกับนักเรียนด้วยความห่วงใย  เน้นย้ำให้นักเรียนปฏิบัติตามมาตรการแนวทางการเปิดภาคเรียน  สวมหน้ากากอนามัย มีเจลล้างมือ เว้นระยะห่างในห้องเรียน  รวมถึงเรื่องให้ระวังไข้เลือดออก  และการใช้รถใช้ถนนอย่างระมัดระวัวเพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน




                        นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  ได้ให้การต้อนรับและรายงานผล การดำเนินงานในวัน เปิดเทอมวันแรก รับวิถีใหม่ New Normal โดย  ดร.สมบูรณ์ ธรรมลังกา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ได้เดินตรวจจุดสำคัญต่างๆ ในโรงเรียน  อาทิเช่น การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน  ห้องเรียนปฐมวัย จุดล้างมือ  โรงอาหาร สุขาภิบาลอาหาร  โดยได้ให้แนวทางและเน้นย้ำให้บุคลากรร่วมมือปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID19) และได้กล่าวให้กำลังใจคณะครูและบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งและอดทน

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ประกาศข้อกำหนดที่เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2563

ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งต่าง ๆ ที่เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประเทศไทย
...............................................................
  • ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๓)http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0027.PDF
  • ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0029.PDF
  • ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0030.PDF
  • ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๑) 👉👉การศึกษาข้อ 1 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0031.PDF
  • ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๒)👉👉 การศึกษาข้อ 9 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0035.PDF
  • คำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕) 👉👉การศึกษาหน้า1-2 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0037.PDF
  • คำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๖)👉👉การศึกษาหน้า 7-9 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/153/T_0038.PDF

🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔🕔

ทักษะชีวิต พิชิตโควิด-19

อีก 1 ทักษะอาชีพ "การประดิษฐ์วัสดุสิ่งขิงจากเศษผ้า " และต่อยอดได้อีกหลายอาชีพ


คลิปวีดีโอ
..........................................