ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

โครงการอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน

โครงการอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน

               นายสังวาลย์ คำจันทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน โรงเรียนบ้านหัวดอย ตามที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานหลักสูตร  และพระราชทานตราสัญลักษณ์ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน  เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๔   โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือน้อมนำโครงการจิตอาสาพระราชทาน  มาเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง  และยั่งยืน   
              โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานเป็นโครงการที่มุ่งสร้างให้เกิดความตระหนักและปลูกฝังให้ลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ  ได้น้อมนำเอาหลักการและวิธีการของโครงการจิตอาสาพระราชทานไปจัดกิจกรรมจิตอาสา  ด้วยการอุทิศตนช่วยเหลือผู้อื่น  ทั้งในสถานศึกษาและชุมชนอย่างต่อเนื่อง  และยั่งยืน



              จากการที่โรงเรียนบ้านหัวดอย  ได้รับเลือกและเข้าร่วมโครงการ  และมีการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือจิตอาสาพระราชทานระดับสถานศึกษา  เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา   เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้  และจัดตั้งหน่วยลูกเสือจิตอาสาพระราชทานของโรงเรียน  เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานที่ตั้งไว้  จึงได้มีการจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติตนแก่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ของโรงเรียนบ้านหัวดอย  ระหว่างวันที่ 23-26  พฤศจิกายน  2564



วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อนุรักษ์-สืบสานประเพณีลอยกระทง 2564


วันที่ 19 พฤศจิกายน ๒๕๖๔ นายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ได้มอบหมายให้คณะครูแต่ละช่วงชั้นจัดกิจกรรมวันลอยกระทง เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีจึงได้จัดทากิจกรรมวันลอยกระทง โดยจัดให้มีการประกวดการประดิษฐ์กระทง เช่น โมเดลกระทงจากกล่องนม กระทงใบตอง การประกวดนางนพมาศ การร้องเพลงลอยกระทงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งการจัดกิจกรรมเป็นการบูรณาการสาระการเรียนรู้ตามช่วงชั้น




วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ร่วมพิธีเปิดระบบการเรียนออนไลน์สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่อง การป้องกันและการยุติการล้อ แกล้ง รังแก ในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย


การป้องกันและการยุติการล้อ แกล้ง รังแก ในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย


                  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ดําเนิน “โครงการนักเรียนก้าวทันยุติการรังแก ในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย” โดยมีวัตถุประสงค์หลักของโครงการเพื่อให้นักเรียนลดการรังแกกันทั้งในโรงเรียน และในโลกไซเบอร์ รวมทั้งครูโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายตระหนัก รู้ทัน เข้าใจ รับรู้ว่าการล้อ แกล้ง รังแก เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาระบบการเรียนออนไลน์สําหรับนักเรียน เรื่อง การยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

 
                                                          https://teacher.thaistopbully.org/main

ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจระบบการเรียนออนไลน์สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรการป้องกันและการยุติการล้อ แกล้ง รังแก ในโรงเรียนและโลกไซเบอร์ (E-Training) สามารถลงทะเบียบได้ผ่านทาง https://teacher.thaistopbully.org/ เพื่อเรียนรู้การสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจประเด็นปัญหาเรื่องการล้อแกล้งรังแกกันในโรงเรียนและในโลกไซเบอร์ พร้อมสามารถนํานโยบายไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและยุติการล้อแกล้งรังแกกันได้ในระดับโรงเรียน รวมถึงเสริมสร้างทักษะและความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหาเมื่อพบเหตุการณ์การรังแกในห้องเรียน หรือในโลกไซเบอร์ต่อไป

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สำรวจอุปกรณ์การเรียนทางไกลหรือรูปแบบออนไลน์ของนักเรียน


                    นายสังวาลย์   คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  สำรวจอุปกรณ์การเรียนทางไกลหรือรูปแบบออนไลน์ของนักเรียน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย  เขต ๑ ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ว่าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)  ระลอกใหม่    ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงปัจจุบัน   ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติ (On-Site) ได้   โรงเรียนส่วนใหญ่ต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทางไกลหรือรูปแบบออนไลน์   แต่นักเรียนบางคนไม่สามารถเรียนทางไกลได้   เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ในการเรียนทางไกล  เช่น Smartphone, Tablet, Notebook, PC Computer และ Smart TV 
                    

                    ดังนั้น  เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนทางไกลหรือรูปแบบออนไลน์มีประสิทธิภาพมาก  ขึ้นจึงมีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการเรียนของนักเรียนว่าใช้อุปกรณ์ประเภทใดในการเรียนบ้าง  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้กับโรงเรียน   พร้อมทั้งดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนในสังกัด   ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน