ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565

สิ่งแวดล้อมที่ดี


สิ่งแวดล้อมที่ดี ต้องเริ่มจากการปลูกฝังการเป็นตัวอย่างที่ดี โดย ท่านผู้อำนวยการสังวาลย์ คำจันทร์ คณะครูบุคลากร และนักเรียนทุกคน ตลอดจนผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน บุคคล และองค์กรในท้องถิ่น ต่างมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดความตระหนัก ให้มีความรับผิดชอบ มีทักษะชีวิต และเห็นถึงความสำคัญ ของสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมและลงมือทำให้เป็นกิจวัตร การจัดการทรัพยากรทั้งในด้านพลังงาน และภูมิทัศน์ที่มีความปลอดภัย สวยงาม น่าอยู่ เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาได้

พันธกิจที่  1  นโยบายและโครงสร้างการบริหารโรงเรียน

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม
2. กำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในวิสัยทัศน์/พันธกิจ/ธรรมนูญของโรงเรียน 

พันธกิจที่  2  การจัดกระบวนการเรียนรู้

1. มีกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นตามหลัก CommunityBasedLearningอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
2. นำกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในชุมชน 

พันธกิจที่  3  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

1. มีกิจกรรมด้านการบริหารหรือการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2. มีการจัดการพื้นที่สีเขียวในโรงเรียน
3. มีการจัดการขยะ/ของเสียในโรงเรียน
4. มีการจัดการน้ำ/น้ำเสียในโรงเรียน
5. มีการจัดการพลังงานในโรงเรียน
6. มีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน
7. การจัดซื้อจัดจ้างหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พันธกิจที่  4  การมีส่วนร่วมและเครือข่าย

1. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล
2. เปิดโอกาสหรือสร้างช่องทางการรับรู้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในโรงเรียน(อย่างน้อย
3. ร้อยละ30)ในการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล
4. จัดกิจกรรมหรือสร้างกระบวนการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนอย่างน้อย 1 ห้องเรียนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
5. ของการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 2 แล ะ3