ช่วยแปล


ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565

สิ่งแวดล้อมที่ดี


สิ่งแวดล้อมที่ดี ต้องเริ่มจากการปลูกฝังการเป็นตัวอย่างที่ดี โดย ท่านผู้อำนวยการสังวาลย์ คำจันทร์ คณะครูบุคลากร และนักเรียนทุกคน ตลอดจนผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน บุคคล และองค์กรในท้องถิ่น ต่างมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดความตระหนัก ให้มีความรับผิดชอบ มีทักษะชีวิต และเห็นถึงความสำคัญ ของสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมและลงมือทำให้เป็นกิจวัตร การจัดการทรัพยากรทั้งในด้านพลังงาน และภูมิทัศน์ที่มีความปลอดภัย สวยงาม น่าอยู่ เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาได้

พันธกิจที่  1  นโยบายและโครงสร้างการบริหารโรงเรียน

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม
2. กำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในวิสัยทัศน์/พันธกิจ/ธรรมนูญของโรงเรียน 

พันธกิจที่  2  การจัดกระบวนการเรียนรู้

1. มีกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นตามหลัก CommunityBasedLearningอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
2. นำกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในชุมชน 

พันธกิจที่  3  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

1. มีกิจกรรมด้านการบริหารหรือการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2. มีการจัดการพื้นที่สีเขียวในโรงเรียน
3. มีการจัดการขยะ/ของเสียในโรงเรียน
4. มีการจัดการน้ำ/น้ำเสียในโรงเรียน
5. มีการจัดการพลังงานในโรงเรียน
6. มีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน
7. การจัดซื้อจัดจ้างหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พันธกิจที่  4  การมีส่วนร่วมและเครือข่าย

1. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล
2. เปิดโอกาสหรือสร้างช่องทางการรับรู้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในโรงเรียน(อย่างน้อย
3. ร้อยละ30)ในการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล
4. จัดกิจกรรมหรือสร้างกระบวนการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนอย่างน้อย 1 ห้องเรียนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
5. ของการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 2 แล ะ3



โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และภูมิทัศน์
การจัดแหล่งเรียนรู้สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในโรงเรียนเป็นสิ่งจําเป็นประการหนึ่งที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ต่างๆ และพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และสติปัญญา ของนักเรียน การมีแหล่งการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่หลากหลายทําให้นักเรียนได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ห้องปฏิบัติการพิเศษ สวนหย่อม สวนเกษตร สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน ฯลฯนอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เหมาะสม สวยงาม ปลอดภัย ก็จะทําให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้โรงเรียนและนักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

หลักการและเหตุผล
ด้วยโรงเรียนบ้านหัวดอย ได้กำหนดที่จะพัฒนางานด้านอาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนการให้บริการต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านหัวดอย ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งต้องมีการจัดภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เกิด ความสวยงาม อย่างเหมาะสม มีบรรยากาศร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ ตลอดจนสาธารณูปโภค ให้คงสภาพสวยงาม มีความเหมาะสม สะดวกพร้อมใช้อยู่เสมอเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มรประสิทธิภาพ และบรรลุได้ตามมาตรฐาน โรงเรียนบ้านหัวดอย จึงกำหนดมาตรการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
พัฒนา ปรับปรุงอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียนให้เพียงพอ มีความปลอดภัย และอื้นต่อการใช้และการเรียนการสอน
 
แนวทางการปฏิบัติ
1. กำหนดแนวทางวางแผนการบริหารจัดการอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคของโรงเรียน
2. การบำรุงดูแลและพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภค ให้อยู่ในสภาพที่จะใช้ประโยชน์ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย สภาพสวยงาม น่าอยู่ น่าดู น่าใช้
3. ติดตามและตรวจสอบการใช้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
4. สรุป ประเมินผล และรายงานมาตรการด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม
5. ดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบริเวณโรงเรียน
6. ปรับปรุงภูมิทัศน์ ภายในโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการเรียนการสอน
7. กำหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่
8. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบประจำห้องและอาคาร กำหนดใหม่ผู้ควบคุม กำกับ ติดตาม
9. ดูแลซ่อมบำรุง ปรับปรุงรักษา ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสถานที่ แลสภาพแวดล้อม
10. ให้บริการด้านอาคารสถานที่แก่ข้าราชการครู บุคลาการทางการศึกษา และนักเรียน

มาตรการด้านสาธารณูปโภค
1. ควบคุมดูแล ติดตั้ง ต่อเติม และซ่อมบำรุงงานไฟฟ้าของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ควบคุมดูแลระบบนี้ประปา นำดื่ม น้ำใช้ ตามจุดต่างๆที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ให้บริการ
3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ ท่อน้ำประปาตามอาคารเพื่อป้องกันการร่วมซึมตามจุดต่างๆ
4. ตรวจสอบ ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประปาให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
5. มีการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และน้ำประปา
6. มอบหมายผู้รับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า น้ำประปา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ