ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ประเด็นท้าทาย 2567 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา


ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านหัวดอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

1. สภาพปัจจุบัน
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งเน้นเรื่องความปลอดภัยโดยกำหนดความปลอดภัยไว้ 4 ด้านคือ
  1. ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 
  2.  ความปลอดภัยด้านการดำรงชีวิต 
  3.  ความปลอดภัยด้านภัยพิบัติ 
  4.  ความปลอดภัยด้านการเดินทาง โดยสถานศึกษาต้องบริหารจัดการ ระดมทรัพยากร ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน

                     โรงเรียนบ้านหัวดอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการสนองตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 หน่วยงานต้นสังกัด โดยโรงเรียนบ้านหัวดอยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์ภารงาน กิจกรรมต่าง ๆให้กับหน่วยงานต้นสังกัด ผู้ปกครอง ชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนงานด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ผู้เรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน


            ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนบ้านหัวดอย จึงได้ทำการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านหัวดอย เพื่อจัดทำ รวบรวมสื่อการเรียนรู้ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ช่วยอำนวยความสะดวก ปรับปรุงคุณภาพพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร พร้อมให้บริการ เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครองที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีชีวิตอย่างมีคุณภาพ

1. การเรียนรู้   ปรับปรุงการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยสํารวจแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการรับรองแล้ว และมีแนวโน้มซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • กําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ เพื่อสํารวจและประยุกต์ใช้วิธีการสอนที่เป็นไปได้โดยเทคโนโลยีและสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้เรียนและผู้สอน
  • ติดตามความสนใจทางวิชาชีพโดยการสร้างและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในเครือข่ายการเรียนรู้ในโรงเรียนและเครือข่ายการศึกษาในท้องถิ่น หรือเครือข่ายการศึกษาระหว่างประเทศ
  • ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการวิจัยที่สนับสนุนผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ดีขึ้นรวมถึงผลการวิจัยจากวิทยาศาสตร์การเรียนรู้


2. การเป็นผู้นำ  แสวงหาโอกาสในการเป็นผู้นําด้านเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถและความสําเร็จของครูและนักเรียน และเพื่อปรับปรุงการบวนการเรียนการสอน
  • กําหนดพัฒนาและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันสําหรับการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการศึกษา
  • สนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีการศึกษาเนื้อหาดิจิทัล และโอกาสในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของนักเรียนทุกคน
  • สร้างเครื่องมือสําหรับการทำงานร่วมงาน เพื่อการบันทึกข้อมูล การสํารวจ การประเมิน การดูแลและการนําทรัพยากรดิจิทัลและเครื่องมือใหม่สําหรับการเรียนรู้มาใช้

3.การเป็นพลเมือง  สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมีส่วนร่วมในเชิงบวกและมีส่วนร่วมอย่างมีความรับผิดชอบในโลกดิจิทัล
  • สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในเชิงบวกรับผิดชอบต่อสังคมและแสดงพฤติกรรมที่เห็นอกเห็นใจทางออนไลน์ที่สร้างความสัมพันธ์และชุมชน
  • สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็น และการตรวจสอบทรัพยากรออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลและความคล่องแคล่วของสื่อ
  • ให้คําปรึกษาแก่ครู-บุคลากร รวมถึงนักเรียนในการปฏิบัติที่ปลอดภัย ถูกกฎหมายและมีจริยธรรมด้วยเครื่องมือดิจิทัลและการคุ้มครองสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญา
  • สร้างโมเดลและส่งเสริมการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลประจําตัวดิจิทัลและปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนักเรียน

4.ผู้ร่วมงาน   อุทิศเวลาเพื่อทํางานร่วมกับทั้งเพื่อนร่วมงานและนักเรียนเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติค้นพบและแบ่งปันทรัพยากรและแนวคิดและแก้ปัญหา
  1. อุทิศเวลาการวางแผนเพื่อทํางานร่วมกับเพื่อนร่วมงานเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่แท้จริงที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
  2. ทํางานร่วมกันและเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนเพื่อค้นหาและใช้ทรัพยากรดิจิทัลใหม่ ๆ และวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยี
  3. ใช้เครื่องมือการทํางานร่วมกันเพื่อขยายประสบการณ์การเรียนรู้ในโลกแห่งความเป็นจริงที่แท้จริงของนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมแบบเสมือนจริงกับผู้เชี่ยวชาญทีม และนักเรียนทั้งในโรงเรียนและการศึกษาอื่น
  4. แสดงความสามารถทางวัฒนธรรมเมื่อสื่อสารกับนักเรียนผู้ปกครองและเพื่อนร่วมงานและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาในฐานะผู้ทํางานร่วมกันในการเรียนรู้ของนักเรียน



5.ผู้ออกแบบ  ออกแบบกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ขับเคลื่อนด้วยผู้เรียนอย่างแท้จริงซึ่งรับรู้และรองรับความแปรปรวนของผู้เรียน
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้าง ปรับตัว และปรับแต่งประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นอิสระและรองรับความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียน
  • ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงที่สอดคล้องกับมาตรฐานด้านเนื้อหาและใช้เครื่องมือและทรัพยากรดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเรียนรู้เชิงลึกและกระตือรือร้นสูงสุด
  • สํารวจและประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีส่วนร่วมและสนับสนุนการเรียนรู้

6. กระบวนการ  อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนความสําเร็จของนักเรียนตามมาตรฐาน การศึกษา สําหรับนักเรียน
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมที่นักเรียนเป็นเจ้าของเป้าหมายการเรียนรู้ และผลลัพธ์ทั้งในสภาพแวดล้อมอิสระและการทำงานเป็นกลุ่ม
  • จัดการการใช้เทคโนโลยีและกลยุทธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในแพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือภาคสนาม
  • สร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ท้าทายให้นักเรียนใช้กระบวนการออกแบบและการคิดเชิงคํานวณเพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหา
  • สร้างเครื่องมือและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารความคิดความรู้หรือการเชื่อมต่อ (นักข่าวรุ่นจิ๋ว)

  •  

7. การวิเคราะห์  เข้าใจและใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเรียนการสอนและสนับสนุนนักเรียนในการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้
  • จัดหาทางเลือกสําหรับนักเรียนในการแสดงความสามารถและไตร่ตรองการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี
  • ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและดําเนินการประเมินเชิงโครงสร้างและแบบสรุปที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนให้ข้อเสนอแนะแก่นักเรียนอย่างทันท่วงทีและแจ้งการเรียนการสอน
  • ใช้ข้อมูลการประเมินเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและสื่อสารกับนักเรียนผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการศึกษา เพื่อสร้างทิศทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน


วันลอยกระทง 2566

 




วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ขับเคลื่อนสถานศึกษาตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาพ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาพ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘

๑. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา 
   
๑.๑ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
๑.๒ ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
๑.๓ ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติสู่การปฏิบัติการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมร่วมสมัยอย่างมี  ความสุข
๒. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
๒.๑ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
๒.๒ พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ประชาธิปไตยและส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

๓. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
๓.๑ ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๓.๒ พัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้
๓.๓ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๔. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
๔.๑ ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔.๒ พัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA 
๕. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๕.๑ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสา
๕.๒ สร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ
๕.๓ ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดี และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

๖. จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
๖.๑ พัฒนาองค์ความรู้ เจตคติและทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการ
๖.๒ สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างสถานศึกษากับทีมสหวิชาชีพ
๖.๓ นิเทศ กำกับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน

๗. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
๗.๑ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา
๗.๒ พัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษาด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฏศิลป์ ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ
๗.๓ ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power อย่างเต็มศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

๘. เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา
๘.๑ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยอบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้
๘.๒ สร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา
๘.๓ สร้างภูมิคุ้มกันผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
๘.๔ รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบ OBEC Safety Center

๙. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
๙.๑ พัฒนาระบบการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตกหล่นเด็กออกกลางคัน เด็กไร้สัญชาติ เด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ ตามความต้องการจำเป็นรายบุคคลเพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๙.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส
ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้

๑๐. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑๐.๑ พัฒนาผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรส่วนกลาง ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์
๑๐.๒ พัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศ และการชี้แนะ ( Coaching)
๑๐.๓ พัฒนาสมรรถนะครู ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้จิตวิญญาณความเป็นครู และทักษะอื่นที่จำเป็น
๑๐.๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
๑.๑ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการ การแต่งตั้ง การย้าย การช่วยราชการ และการขอมี
๑.๒ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
๒.๑ จัดตั้งศูนย์และสถานีแก้หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ
๒.๒ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๓ ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๑ จัดทำแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๒ จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๓ เสนอปรับเกณฑ์อัตรากำลังผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสายสนับสนุน
๓.๔ จัดทำคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทนโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน ๖๐ คน
๓.๕ จัดทำรูปแบบการบริหารเจ้าหน้าที่ธุรการ ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส
๓.๖ สร้างและใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ในระบบดิจิทัล และส่งเสริมการใช้ DLTV

๔. ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
๔.๑ สำรวจรายการประเมิน การรายงานข้อมูล และโครงการของสถานศึกษา
๔.๒ จัดทำรูปแบบและแนวทางการประเมินเพื่อลดภาระของสถานศึกษา
๔.๓ ติดตามผลการประเมินตามแนวทางเพื่อลดภาระการประเมินของสถานศึกษา

 

๕. สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต
๕.๑ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕.๒ สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรม และความโปร่งใส
๕.๓ จัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

 

๖. การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร
๖.๑ พัฒนาการสื่อสารทุกช่องทาง
๖.๒ ติดตามและวิเคราะห์ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
๖.๓ ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ สพฐ.
๖.๔ สร้างเครือข่าย และประยุกต์ใช้ AI เพื่อการประชาสัมพันธ์ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

 

๑. การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
๑.๑ จัดหาเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้
๑.๒ จัดหาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของสถานศึกษาสุขภาพกายรอบด้าน
๑.๓ พัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา

๒. สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน
๒.๑ พัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะแนวทาง (Coaching)
๒.๒ พัฒนาครูแนะแนวแกนนำ และพัฒนาให้ครูทุกคนให้การแนะแนวนักเรียนได้
๒.๓ ส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนวิถีใหม่ด้วย School Health Hero และส่งเสริม

๓. ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
๓.๑ พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์เพื่อใช้ในการสะสมหน่วยกิตและผลการเรียนของผู้เรียน ผ่านระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
๓.๒ พัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล
๓.๓ เชื่อมโยง API ระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ

๔. ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนคุณภาพ
๔.๑ จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ
๔.๒ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ
๔.๓ สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนคุณภาพที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการเพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

๕. เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
๕.๑ พัฒนานักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
๕.๒ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน
๕.๓ ส่งเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๕.๔ พัฒนาต่อยอดห้องแล็บสอนอาชีพ ในโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน
๕.๕ ส่งเสริมการศึกษาร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ประกาศที่ตั้งศูนย์ประสานงานรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567

 

            
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา2567 เพื่อให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เป็นนโยบายและแนวปฏิบัติการดำเนินงานเกี่ยวกับการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 อย่างเคร่งครัด

            

           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรับนักเรียน  ปีการศึกษา 2567 เพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ประสานงานให้ข้อเสนอแนะ รับข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ และทำความเข้าใจแก่นักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งจัดหาที่เรียน  ให้แก่นักเรียน (กรณีเด็กไม่มีที่เรียน) ตลอดจนแก้ปัญหาต่าง ๆ อันจะเกิดขึ้นในการรับนักเรียน 

       
         โรงเรียนบ้านหัวดอย ประชาสัมพันธ์การรับนักเรียน การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 ของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 
ให้นักเรียน ผู้ปกครอง และสาธารณชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

 

สรุปอันดับเหรียญ ได้อันดับที่ 12 ของโรงเรียนทั้งสิ้น 113 โรงเรียน

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566
"เด็กเชียงราย รักษ์ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นล้านนา ภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสู่สากล"
ณ โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร),อนุบาลนางแลบ้านทุ่ง, บ้านนางแล, ชุมชนบ้านแม่ข้าวต้มหลวง และสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ระหว่าง วันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน 2566

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เปิดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มเมืองใต้

 

                นายมรกต    อนุเคราะห์    ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เป็นประธานเปิดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 "เด็กเชียงราย รักษ์ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นล้านนา ภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสู่สากล" ในระดับกลุ่มโรงเรียน ซึ่งกำหนดจัดงานใน วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในทางวิชาการศิลปะการแสดงและทักษะด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี และเป็นการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 129 รายการ





งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ระดับกลุ่มเมืองใต้

                    

                นายมรกต อนุเคราะห์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1     เป็นประธานเปิดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  "เด็กเชียงราย รักษ์ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นล้านนา ภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสู่สากล"  ในระดับกลุ่มโรงเรียน  โดย นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ประธานกลุ่มโรงเรียนเมืองใต้ เป็นผู้กล่าวรายงาน  วันที่ 10 พฤศจิกายน  2566  ณ โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในทางวิชาการศิลปะการแสดงและทักษะด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี และเป็นการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 129 รายการ

วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ประชุมคณะกรรมการจัดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

นายสังวาลย์  คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ประธานกลุ่มโรงเรียนเมืองใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  "เด็กเชียงราย รักษ์ศาสตร์ศิลป์ ถิ่นล้านนา ภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสู่สากล"  ในระดับกลุ่มโรงเรียน   ซึ่งกำหนดจัดงานใน  วันที่ 10 พฤศจิกายน  2566  ณ โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในทางวิชาการศิลปะการแสดงและทักษะด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี และเป็นการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคเหนือและระดับชาติต่อไป






เปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566