ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำในเด็กและเยาวชน พื้นที่ตำบลท่าสาย


                    สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลตำบลท่าสาย ได้กำหนดจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำในเด็กและเยาวชน พื้นที่ตำบลท่าสาย  ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา 0๙.๐๐- ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดอยปุยเทศบาลตำบลท่าสาย  และสระว่ายน้ำโรงแรมพิมานอินน์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยอบรม ให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนช่วงอายุระหว่าง ๗-๑๒ ปี ในเขตพื้นที่ตำบลท่าสาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันและสร้างความปลอดภัยจากการจมน้ำในเด็กและเยาวชน ลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลท่าสาย ให้มีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำที่ถูกต้อง  โดยมี ครูทนง ไขทา  เป็นผู้ดูแลนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 

ผู้บริหารศตวรรษที่ 21

 

เป้าหมายการบริหารจัดการ ปี 2565  มีนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานร่วมกัน  ตามกรอบนโยบายการศึกษา 

การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 
  • มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การคาดการณ์ การเปรียบเทียบ
  • เพื่อกำหนดแผนและเป้าหมายการดำเนินงาน
  • มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และปัจจัยความสำเร็จที่ชัดเจน
  • มีการเชื่อมโยงเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีการสื่อสาร ถ่ายทอดเป้าหมายและแผนการปฏิบัติงานไปยังผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง
  • เป้าหมายการดำเนินงานสามารถติดตามและวัดผลสำเร็จได้
  • มีระบบการกำกับ ติดตาม และปรับตัวเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ :
  • ข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์
  • มีการสื่อสารข้อมูลผลการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็วง่ายต่อการเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์
  • มีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูล
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์) ได้มาตรฐาน
การมุ่งเน้นบุคลากร
  • บุคลากรเห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรอบรู้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา
  • มีจริยธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจปัจจุบันและอนาคต
  • มีบุคลากรมีความสุข มีความพึงพอใจ และมีความผูกพันต่อองค์กร
  • บุคลากรมีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว
  • บุคลากรได้รับการสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างทั่วถึง
  • องค์กรมีสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการทำงานที่มี
  • ประสิทธิภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีวัฒนธรรมองค์กรถูกขับเคลื่อนด้วยบุคลากร

การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ

  • ระบบงานมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการในปัจจุบันและอนาคต
  • กำหนดตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายของกระบวนการ บนพื้นฐานความต้องการของผู้รับบริการ
  • มีการติดตาม ประเมินผล และควบคุมกระบวนการ ก่อนส่งมอบให้ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีการประชาสัมพับริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน
ประเด็นท้าทายของข้าราชการครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านหัวดอย / 1 ครู 1 นวัตกรรม 
  1. การบริหารแบบบูรณาการเพื่อการสร้างวินัยในการจัดการขยะให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวดอย
  2. การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือโดยเน้นสื่อธรรมชาติเพื่อส่งเสริมและพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3
  3. การผลิตและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
  4. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  5. การพัฒนาสมรรถนะภาพทางกายโดยใช้หลักการ F.L.T.T ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  6. การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยสื่อการสอนแบบฝึกหัดการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้บาร์โมเดลในการพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์รายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  8. การพัฒนาทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษของนักเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ kwl plus
  9. การใช้กระบวนการ PLC ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ตามแนวสสวท
  10. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  11. การใช้กระบวนการ PLC ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางวิทยาการคำนวณตามแนว สสวท.



วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

รับฟังการมอบนโยบาย โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ 2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน


โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสาธารณภัยประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕


    
                        ด้วยสภาพความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัยในปัจจุบันมักจะเกิดและมีความเสียหายมากในกรณีของแผ่นดินไหวและอัคคีภัยในอาคารขนาดใหญ่อาคารสูงโรงงานอุตสาหกรรมเขตชุมชนหนาแน่นสถานศึกษาและย่านการค้าต่าง ๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องเพิ่มความเข้มงวดกวดขันในเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ราชการและสถานที่อื่น ๆ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วอาจจะมีผลกระทบกว้างขวางรุนแรงเช่นประเทศญี่ปุ่นประเทศพม่าและประเทศไทย (อำเภอพานอ้าเภอแม่ลาวอำเภอแม่สรวยอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย) เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมการป้องกันเหตุแผ่นดินไหวและอัคคีภัยการเตรียมความพร้อมของประชาชนและประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                        
จากเหตุผลดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมความชำนาญส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ที่มีความสนใจเยาวชนนักเรียนนักศึกษาองค์กรต่างๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความรู้เท่าทันต่อการเกิดแผ่นดินไหวและอัคคีภัยสามารถร่วมกันป้องกันและบรรเทาภัยที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหวและอัคคีภัยซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียนนักศึกษาประชาชนและของรัฐได้ทันท่วงทีสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นให้มีน้อยที่สุดงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักปลัดเทศบาลตำบลท่าสายจึงได้จัดทําโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสาธารณภัยและการซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นการฝึกทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานสูงสุดซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและเป็นแนวทางในการฝึกซ้อมแผนฯ การอพยพแก่หน่วยบริการอื่น ๆ ให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ 
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมฯ สามารถนำความรู้ที่ได้นำไปเผยแพร่ถ่ายทอดให้กับบุคคลทั่วไปหรือบุคคลใกล้ชิดเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวและอัคคีภัยขึ้น

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สำนักปลัดเทศบาลตำบลท่าสายบูรณาการร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวดอย 

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ร่วมต้านโกง


               โรงเรียนบ้านหัวดอยร่วมต้านโกง  นายสังวาลย์  คำจันทน์  โดยนจัดกิจกรรมทุกชั้นเรียน  สำหรับระดับมัธยม พี่ๆ สภานักเรียนจะดำเนินกิจกรรม เช่นการสร้างคลิปรณรงค์ต่อต้านทุจริต  การฝึกทักษะไอทีด้านการนำเสนอ...โดยครูพีระศักดิ์  สกุลเวช เป็นผู้ดูแล รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูกเสือจิตอาสาต้านภัยต่างๆ ส่วนระดับประถม  เด็กๆอนุบาล  ครูเอลเซ่ (ประชาสัมพันธ์) เป็นคนเก็บบันทึกภาพกิจกรรมต่างๆของน้องๆ 

 



วันไหว้ครู


พิธีไหว้ครูในโรงเรียน และดอกไม้ไหว้ครู

โดยปกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 หรือวันใดวันหนึ่งในราวเดือนมิถุนายนดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้ในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่

หญ้าแพรก สื่อถึง เป็นหญ้าที่เติบโตเร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์ เมื่อได้รับการสั่งสอนก็พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะเหี่ยวเฉาไป แต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที

ดอกเข็ม สื่อถึง สติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม

ดอกมะเขือ สื่อถึง มะเขือนั้นจะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึงนักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง และดอกงอกงามได้อย่างรวดเร็ว

ข้าวตอก สื่อถึง ความรู้ที่แตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว เหมือนลักษณะของข้าวสาร เปรียบได้กับการที่ครู “คั่ว” นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ “คั่ว”คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ “แตก”ฉานสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้


วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คำสั่ง-ประกาศการใช้หลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. 2565

คำสั่ง-ประกาศ การใช้หลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. 2565

หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผล แบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหา  เพียงเพื่อนำมาสอบ เดิม วัดผลจากการจำความรู้ แต่ฐานสมรรถนะ วัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน ที่นำมาใช้แทนที่หลักสูตรในปัจจุบัน วัดผลจากสมรรถนะทั้ง 6 ด้าน
  1. สมรรถนะการจัดการตนเอง 
  2. สมรรถนะการสื่อสาร 
  3. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม 
  4. สมรรถนะการคิดขั้นสูง 
  5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 
  6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
  1. คำสั่ง-หลักสูตรฐานสมรรถนะ-ร่าง
  2. คำสั่ง สพฐ. ที่ 921/ 2561 ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสารที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560
  3. คำสั่ง สพฐ.ที่ 922 / 2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  4. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239 / 2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 256

สารสนเทศ 2565



1. ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล DMC - SCHOOL MISS    ผู้รับผิดชอบ     ครูพัชรา
2. ระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง B-OBEC M-OBEC P-OBEC        ผู้รับผิดชอบ
3. ระบบ EMIS สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน                          ผู้รับผิดชอบ
4. ระบบรายงานสาธารณูปโภคระบบทุนนักเรียนยากจน              ผู้รับผิดชอบ
5. ระบบ IEP การศึกษาพิเศษเรียนรวม                                             ผู้รับผิดชอบ
6. ระบบ School Lunch                                                          ผู้รับผิดชอบ
7. ระบบยาเสพติด                                                                          ผู้รับผิดชอบ
8. ระบบ internet                                                                           ผู้รับผิดชอบ
9. sar ปฐมวัย                                                                                ผู้รับผิดชอบ
10. ความปลอดภัยในสถานศึกษา                                               ผู้รับผิดชอบ

                    ตามที่สำนักางาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สำหรับการขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว โดยเน้นการมีตัวตนอยู่จริงในโรงเรียน ณ วันที่ ยืนยัน/รับรองข้อมูลการมีตัวตน และข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ และๆได้พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้างโรงเรียน (B-OBEC) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ เพื่อการดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามกำหนด สามารถนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้เพื่อการวางแผนพัฒนาาการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จึงขอแจ้งรายระเอียด ปฏิทินการดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ดังนี้

  1. ปฏิทินการจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 (ดาวน์โหลดปฏิทินการจัดทำข้อมูลฯ)
  2. แนวทางการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC)  (ดาวน์โหลดคู่มือแนวทางฯ)
  3. ระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง B-OBEC (เข้าใช้งานระบบ URL:https://bobec.bopp-obec.info/)
  4. ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC) ปีการศึกษา 2565 (เข้าใช้งานระบบ URL:https://portal.bopp-obec.info/obec65/auth/login)
  5. ระบบกำหนดรหัสประจำตัวผู้เรียนเพื่อเข้ารับการบริการการศึกษาสำหรับผู้ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร (Gcode) (เข้าใช้งานระบบ URL:http://www.gcode.moe.go.th/)

การดำเนินการจัดทำข้อมูลฯ ปีการศึกษา 2565

          1. ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC)

                1.1 รอบที่ 1 ณ วันที่ 10 มิถุนายน ของทุกปี (ภาคเรียนที่ 1) 

    • จนท./บุคลากร ยืนยันข้อมูล ในวันที่ 10 มิ.ย. 65 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
    • ผู้อำนวยการโรงเรียน รับรองข้อมูล ในวันที่ 10 มิ.ย. 65 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

                1.1.1 แนวทางการทำข้อมูล ปีการศึกษา 2565 รอบที่ 1 (ข้อมูล 10 มิถุนายน 2565)

    • เข้าเมนู 2.2 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน เพื่อแก้ไขจำนวนห้องเรียนและชั้นเรียนที่เปิดสอนในรอบเทอม 1 ปีการศึกษา 2565 รวมถึงตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนในหัวข้ออื่นและแก้ไขให้ถูกต้อง
    • เข้าเมนู 2.8 จำนวนนักเรียนแยกชั้น,เพศ เพื่อตรวจสอบจำนวนนักเรียน และข้อมูลตั้งต้นในรอบ 1/2565

ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนคงค้างปีการศึกษาเดิม ดังนี้

  • เข้าเมนู 2.4 รายชื่อนักเรียนที่ทำรอดำเนินการในปีการศึกษาที่แล้ว เพื่อตรวจสอบว่ามีนักเรียนคนไหนที่มาเรียนในปี 2565 ให้ดำเนินการดังนี้
  • ข้อมูลต่อเนื่องจากเมนู 2.4 นักเรียนที่มาขอลาออกไปแล้วแต่ยังค้างอยู่ปีเก่า ให้ทำข้อมูลในเมนู 2.6.1 เพื่อนำนักเรียนออกจากรายชื่อ
  • ข้อมูลต่อเนื่องจากเมนู 2.4 หากนักเรียนคนไหนเลื่อนชั้นและเรียนต่อที่เดิม ให้ทำข้อมูลในเมนู 2.6.2
  • ข้อมูลต่อเนื่องจากเมนู 2.4 หากนักเรียนคนไหนซ้ำชั้น ให้ทำข้อมูลในเมนู 2.6.3
  • ข้อมูลต่อเนื่องจากเมนู 2.4 หากนักเรียนคนไหนจบชั้น ป.6/ม.3/ม.6(ปวช.3) ออกไปจากโรงเรียนแล้ว ให้ทำข้อมูลในเมนู 2.6.4
นักเรียนคนไหนที่ยังไม่มาเรียน ให้ติดตามและพิจารณาจำหน่ายในภายหลัง(รอบ 10 พ.ย.)

การย้ายเข้า/ย้ายออก ข้อมูลรายคนในขณะนี้ต้องเป็น นร.ที่มีตัวตน ศึกษาอยู่ในโรงเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565 เท่านั้น

  • นักเรียนเข้าใหม่ เมนู 2.7.1 เพื่อนำเข้าข้อมูลนักเรียนที่อยู่ในระบบ DMC อยู่แล้วเข้ามาในโรงเรียน (เด็กเก่าในระบบ dmc จากโรงเรียนอื่น,เลข G ที่มีข้อมูลในระบบ DMC สามารถกรอกในเมนูนี้ได้เลย)
  • นักเรียนเข้าใหม่ เมนู 2.7.3 เพื่อกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมด (สาเหตุเพราะไม่เคยมีข้อมูลใน DMC, มาจากสังกัดอื่น)
  • นักเรียนเข้าใหม่ เมนู 2.7.4 เพื่อนำเข้าเด็ก G ที่พึ่งขอใหม่จากระบบ Gcode (เป็นเด็กที่ไม่มีบัตรหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และไม่เคยมีข้อมูลอยุ่ในระบบ DMC)
  • เมนู 2.7.5 นักเรียนที่มาขอทำย้ายออกในช่วงก่อนวันที่ 10 มิถุนายน 2565
  • เมนู 2.7.6 ออกกลางคัน/จำหน่าย ให้ปรึกษาเขตพื้นที่การศึกษาก่อนดำเนินการ
  • เมนู 2.7.7 สามารถใช้จัดห้องเรียนนักเรียนได้ หรือสามารถทำรายคนในเมนู 2.3
  • เมนู 2.7.8 เปลี่ยนชื่อนักเรียน โรงเรียนไม่สามารถแก้ไขชื่อนามสกุลในเมนู 2.3 ได้ ต้องแก้ไขในเมนูนี้เท่านั้น ไม่รับเรื่องแก้ไขชื่อ นามสกุลทาง Email และห้ามอัพโหลดไฟล์แก้ไขชื่อเข้ามาในระบบ
  • ส่งแก้ไขเลขบัตรประชาชนทางอีเมล์เท่านั้น (ดูรายละเอียดในเมนู 2.7.9) หยุดรับเรื่องแก้ไขในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 น.
ปุ่มยืนยันจะสามารถกดได้ในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. และปิดระบบในวันเดียวกันเวลา 16.30 น.

                1.2 รอบที่ 2 ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี (ภาคเรียนที่ 2)
                1.3 รอบที่ 3 ณ วันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป ของทุกปี (สิ้นปีการศึกษา)

          2.  ระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง B-OBEC 

ระยะเวลาดำเนินการ 1-30 ตุลาคม 2565 ก่อนเวลา 16.30 น. เท่านั้น (หากดำเนินการไม่เป็นไปตามกำหนด รร.จะไม่มีรายชื่อการขอตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567)