ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ


ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรคัดสรรผลงาน ที่แสดงถึงพัฒนาการ และสมรรถนะของตนเองใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงานดิจิทัล (web) ตามจุดมุ่งหมาย PA โดยอาจดำเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น วีดิทัศน์ ภาพถ่าย เพลง เป็นต้น

 หลักการและแนวปฏิบัติ “ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” ตามนโยบายเรียนดี มีความสุข จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตามคำกล่าว “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านหัวดอย  ได้จัดทำแนวทาง “การลดภาระงานเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” สำหรับครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการมอบทักษะสมรรถนะวิชาชีพครูผู้สอนให้มีความเหมาะสม และใช้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลดการบ้านมีช่องทางการสื่อสารอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด 

หลักการพัฒนาตนเองเพิ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ

  1. ลดการอบรม  ภาระงานที่ทำนอกเวลาราชการหรือที่บ้าน โดยเน้นให้ปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จในเวลาราชการ

  2. มอบหมายการอบรมและพัฒนาเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จำเป็น เช่น การอบรมพร้อมลงมือปฏิบัติโดยใช้สื่อดิจิทัล โดยสามารถให้กรอบการอบรมเหมาะสมได้เท่าที่จำเป็น โดยเน้นการส่งเสริมการสร้างสื่อ สร้างช่องทางการเรียนการสอน  ช่องทางการประกอบกิจกรรมบนสื่อออนไลน์  

  3. บูรณาการ  การอบรมพัฒนา ทั้งภายในรายวิชาที่สอนและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นภาระงานเดียว ตามความเหมาะสมกับสมรรถนะของครูและสมรรถนะของผู้เรียน

เพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง   ปรับกระบวนพัฒนาตนเอง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ  และการเรียนการสอน  ที่เน้นให้นักเรียนคิด ปฏิบัติ  ผ่านสถานการณ์จริง  ส่งเสริมกระบวนการคิดการแสวงหาความรู้ (Active Learning) เพือลดเวลาการสอนของครูในห้องเรียนให้น้อยลง โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

แนวปฏิบัติ “ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” โดยมอบหมายภาระงาน ให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น  ตามจุดเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพระบบราชการ  การบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ 

เพื่อให้การพัฒนาตนเองมีความสำคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบผลการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู  จากคุณลักษณะหรือ ธรรมมาภิบาลของบุคลากรและการทำงานในองค์กร  เพื่อทดแทนการอบรมที่ไม่สามารถลงทะเบียนกับต้นสังกัดได้ทันเวลาอย่างเหมาะสม และตามความจำเป็น

  1. ตรวจสอบปริมาณงานและภาระงานอื่นๆ ของครูรายบุคคล เพื่อให้การมอบหมายการงานมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานอื่นของครูและบุคลากรแต่ละบุคคลตามภาระหน้าที่

  2. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองที่ใกล้เคียงกัน ทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อทำให้ภาระงานลดลงร้อยละ 10-20 ครูและบุคลากรมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น

  3. วางแผนกำหนดช่วงเวลาให้ PLC และการพัฒนาตนเอง  เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทำการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมตามภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคล

  4. ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้ในช่วงเวลาว่างที่โรงเรียนและที่บ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จำเป็นต้องใช้การทำความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่ครูสามารถ PLC ร่วมกันได้  จากนั้นมอบหมายให้ครูปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้าน  หัวเรื่องการพัฒนาตนเองที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งครูสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

  5. ประเมินเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ให้เน้นวัดทักษะการคิดขั้นสูง ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์ มีข้อคำถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล

  6. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ

ช่วยแปล