ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนบ้านหัวดอย

          วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นายสังวาลย์ คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินผลงานกลุ่มยุวเกษตรกร สมาชิกยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านหัวดอย เพื่อพิจารณาคัดเลือกกลุ่มยุวเกษตรกรระดับจังหวัด


โดยโรงเรียนบ้านหัวดอยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อจัดการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มยุวเกษตรกรแบบยั่งยืน   ซึ่งการจัดการเรียนรู้นั้น   มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการปลูกฝังให้สมาชิกในกลุ่มยุวเกษตรกรดำรงชีวิตบนฐานกิจพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และต้องการให้กลุ่มยุวเกษตรกร  มองศักยภาพของเศรรษฐกิจพอเพียงแล้วสร้างภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์แก่ตน  สังคม  และประเทศชาติ  

               

                   ผลการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร   ในดำเนินงานการจัดกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มที่ยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  ส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวดอย  รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ  เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย  และมีสุขภาพอนามัยที่ดี   เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านโภชนาการและด้านเกษตรกรรมให้นักเรียน   ผู้ปกครอง   รวมทั้งชุมชน   มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ   ถูกหลักโภชนาการ   มีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร   มีความรู้ด้านเกษตรกรรม  และอาจมีรายได้ระหว่างเรียนจาการจัดกิจกรมที่สร้างความเข้มแข็งให้สมาชิก  และกับสถานศึกษาสามารถพึ่งตนเองได้โดยกลุ่มยุวกษตรกรเกิดการเรียนรู้  และสามารถนาไปใช้ในชีวิตจริงได้  

                   ประการสำคัญ  เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นความสำคัญ  โดยการขยาบผลของกลุ่มยุวเกษตรกร  และกระบวนการเรียนการสอน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐  สู่การแก้ไขปัญหาของของชุมชน ประเทศ โดยเฉพาะความยากจนและการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ดังนี้

การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้
1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
  • ความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง
  • ยึดมั่นในศาสนา
  • มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์
  • มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง - มีคุณธรรม
  • รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด - ชอบ / ชั่ว - ดี
  • ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม
  • ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว
  • ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
3. มีงานทำ - มีอาชีพ
  • การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและเยาวชนรักงาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ
  • การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น และมีงานทำในที่สุด
  • ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
4. เป็นพลเมืองดี
  • การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน
  • ครอบครัว-สถานศึกษา และสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็น พลเมืองดี
  • การเป็นพลเมืองดี คือ "เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ" เช่น งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำด้วยความมีน้ำใจ และความเอื้ออาทร


อ้างถึง 
    โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงรายได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มยุวเกษตรกรเพื่อการเตรียมพร้อมสู่ Smart Group ในกิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มยุวเกษตรกร ซึ่งได้คัดเลือกกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านหัวดอย  ในการจัดกิจกรรม โดยมีการให้ความรู้ ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ และทำกิจกรรมการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง  

องค์ความรู้
ความหมายของเกษตรกรรมยั่งยืน
องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายของเกษตรกรรมยั่งยืนว่า เป็นระบบเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้อกับการผสมผสานและเชื่อมโยงระหว่างดิน การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ การเลิกหรือลดการใช้ทรัพยากรจากภายนอกระบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนเน้นการใช้เทคนิคที่เป็นหรือปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการธรรมชาติของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ


1. ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาการจัดการดินและการหมุนเวียนการปลูกพืชที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช

2. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตบอดจนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ

3. ความยั่งยืนด้านสังคม ด้วยการใช้แรงงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น อย่างน้อยสำหรับเทคนิคการเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นในสังคม
ที่มา
http://www.advantaseedsth.com/article/detail/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99-sustainable-agriculture/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ

ช่วยแปล