ช่วยแปล


ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1-2564

วิธีการจัดการเรียนการสอนจะใช้การเรียนใน 5 รูปแบบ คือ
1. On Site คือการเรียนที่โรงเรียน ซึ่งจะใช้ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนที่ไม่มีการระบาดของโรค
2. Online คือการเรียนผ่านระบบออนไลน์
3. On Air คือการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
4. On Demand คือการเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ และ
5. On Hand เป็นการจัดใบงานหรือแบบฝึกหัดเป็นชุดให้นักเรียนนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยมีครูคอยติดตามผลเป็นระยะ

หากโรงเรียนใดสามารถจัดการเรียนในห้องเรียนปกติได้ ให้ใช้การเรียนที่โรงเรียนเป็นฐาน (On Site) แต่หากไม่สามารถสอนในห้องเรียนได้ ให้ดูความพร้อมและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน (17-31 พ.ค.) สพฐ. ได้เตรียมกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพ ให้นักเรียนได้เลือกทำตามความสมัครใจ โดยเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับทักษะชีวิต ซึ่งจะไม่มุ่งเน้นเรื่องการวัดประเมินผล แต่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ เช่น เรียนรู้การอยู่อย่างไรในช่วงโควิด-19 ให้มีความปลอดภัย หรือการทำอาหาร ปลูกผักสวนครัว วาดภาพ ทำงานบ้าน ฝึกอาชีพ ก็สามารถทำได้ ในลักษณะเป็นงานอดิเรกสำหรับนักเรียน หรือหากโรงเรียนใดจะใช้โอกาสนี้ในการซักซ้อมการเรียนออนไลน์หรือออนแอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพื่อให้การเปิดภาคเรียนใหม่ในวันที่ 1 มิ.ย. สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา    https://www.obec.go.th/archives/433302
................................................................................


กระทรวงศึกษาธิการ  ได้เตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา โดยได้วางแผนการดำเนินงานออกเป็น  2 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 17-31 พ.ค. ก่อนเปิดภาคเรียน 11 วันทำการ จะเป็นการเตรียมความพร้อมของทั้งครูและนักเรียน โดยจัดกิจกรรมเสริมความรู้การจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เช่น เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ถึงทักษะชีวิตที่จำเป็นจากเหตุการณ์ร่วมสมัย จัดการเรียนรู้ของจริง ประสบการณ์จริง เพื่อทำให้การเรียนรู้ของเด็กไทยต่อเนื่องไม่หยุดชะงักลง ซึ่ง ศธ.จะจัดทีมพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่ครูในการจัดกิจกรรมตามแนวทางดังกล่าว โดยอาจเริ่มจากประเด็นการเรียนรู้ในเรื่องสถานการณ์โควิดเป็นลำดับแรก
  • ระยะที่สอง ตั้งแต่การเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป จะเป็นการจัดการเรียนรู้ 5 รูปแบบ คือ On-Site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), On-Air เรียนผ่าน DLTV, On-Demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ, Online เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต, On-Hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือแบบฝึกหัดใบงาน และในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น วิทยุ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่จะเน้นการเรียนที่โรงเรียน หรือ On-Site
ในส่วนการจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ ขณะนี้ ศธ.เตรียมจัดทำ Web Portal ขึ้นมาใหม่ เพื่อเสริมแพลตฟอร์มต่างๆ ที่หน่วยงานในสังกัด ศธ.มีอยู่ โดยจะเป็นคลังสื่อ ข้อมูลการเรียนรู้ ตลอดจนรูปแบบการจัดกิจกรรม ซึ่งมีข้อมูลทั้งของ สพฐ.-สช.-สำนักงาน กศน.-สอศ. แบ่งเป็นหัวข้อ - หมวดหมู่ตามความสนใจ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนทุกกลุ่ม ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบกลาง ส่วนกิจกรรมรูปแบบออฟไลน์ สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จะเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมร่วมกับ ศบค.จังหวัด ซึ่งคิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ร่วมสมัย สิ่งสำคัญคือทุกคนสามารถเลือกหัวข้อหรือกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ ศธ.จะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งต้องให้พื้นที่ประเมินร่วมกับ ศบค.จังหวัดว่าพื้นที่นั้นเหมาะสมกับการเรียนรูปแบบใด โดยมีความมั่นใจและรับประกันได้ว่า เมื่อเปิดเทอมแล้วเด็กทุกคนจะได้เรียนอย่างมีคุณภาพ ครบตามที่หลักสูตรกำหนด


ด้าน On-Site ในพื้นที่ อาจเป็นการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตซึ่งไม่ได้อยู่ในตำรา โดยนำสถานการณ์จริงมาใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Active Learning จำลองกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นรูปแบบของรูปแบบการส่งเสริมหลักสูตรสมรรถนะซึ่งจะมีการใช้ในปีการศึกษาหน้า ถือเป็นการเอาเวลาที่มีอยู่เหล่านี้ มาเตรียมความพร้อมให้กับครูและนักเรียนในเรื่องของการใช้สถานการณ์จริง ทั้งนี้ นักเรียนและผู้ปกครองสามารถร่วมกิจกรรมได้ตามความสมัครใจ ไม่มีการให้คะแนนผ่าน/ไม่ผ่าน แต่อย่างใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ