ช่วยแปล


ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม-Covid วัยอนุบาล-วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่

 --คลิกอ่าน

กรมอนามัยขับเคลื่อนระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดกรอบทิศทางและแผนปฏิบัติการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมุ่งเน้นการพัฒนา/ยกระดับสุขภาพกลุ่มวัยและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ซึ่งเชื่อมโยงและสอดรับกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำนวน 12 แผน และแผนปฏิรูปประเทศ จำนวน 2 ประเด็น 4 Big Rocks ทั้งนี้ กรมอนามัยได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพหลักของแผนแม่บทฯ ในประเด็นการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี เป้าหมายการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ และประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เป้าหมายเด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ มีพัฒนาการสมวัย สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมากขึ้นรวมถึงเป็นเจ้าภาพหลักแผนปฏิรูปใน Big Rock การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาลดูแลรักษาที่บ้าน/ ชุมชน และระบบสนับสนุนการเตรียมตัวของประชาชนในการเป็นผู้สูงอายุในอนาคต

ในการนี้ จึงเห็นความสำคัญและได้นำเอาส่วยที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยขน์สำหรับดูแลเด็กแต่ละวัยมาเผยแพร่ให้ความรู้ต่อไป



ที่มา.... https://multimedia.anamai.moph.go.th/    ,  https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledge/categories/covid19/

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น ประจำปี 2564



https://ecoschool.deqp.go.th/

คลิปการประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น ประจำปี 2564

การประชุมชี้แจงโรงเรียนเข้าร่วมสมัครให้ครูและบุคลากรได้ทราบ

ผู้อำนวยการโรงเรียนแบ่งพื้นที่ให้ครูรับผิดชอบ พื้นที่ในบริเวณโรงเรียน  จำนวน  18  จุด 



การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564

         โรงเรียนบ้านหัวดอย ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ) การเปิดโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินหลายด้าน เช่น ด้านกายภาพ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการประเมินความพร้อมสู่การปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษา ครู-บุคลากรได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสไม่น้อยกว่า 85% ทั้งนี้ ในระหว่างการเปิดภาคเรียนไปแล้ว โรงเรียนปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด และสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Onsite หรือ Online หรือแบบผสมผสาน (Hybrid) เน้นจัดการเรียนการสอนให้เป็นกลุ่มเดียวและให้มีกิจกรรมทำใน กลุ่มเดียวกันตลอดทั้งวัน และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเป็นประจำ อาทิ สนามเด็กเล่น อุปกรณ์ของเล่นร่วมกับการจัดกลุ่มสลับกันใช้งานเพื่อช่วยลดการสัมผัสร่วมกันจำนวนมาก






ทั้งนี้ ทางโรงเรียนขอความร่วมมือและขอเน้นย้ำพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และเด็กวัยเรียน ให้ยึด  
ปฏิบัติตามหลัก 6 x 6 ป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่

  1. เว้นระยะห่าง (Distancing) เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
  2. สวมหน้ากาก (Mask wearing) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา
  3. ล้างมือ (Hand washing) ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ นาน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
  4. คัดกรองวัดไข้ (Testing) วัดไข้ สังเกตอาการ ซักประวัติผู้สัมผัสเสี่ยงทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
  5. ลดการแออัด (Reducing) ลดแออัด ลดเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มคนจำนวนมาก และ
  6. ทำความสะอาด (Cleaning) ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม อาทิ ที่จับประตู ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ฯลฯ

6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่

  1. ดูแลตนเอง (Self care) ดูแลใส่ใจ ปฏิบัติตน มีวินัย รับผิดชอบตัวเอง ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
  2. ใช้ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) ใช้ช้อนกลางของตนเองทุกครั้ง เมื่อต้องกินอาหารร่วมกัน ลดสัมผัสร่วมกับผู้อื่น
  3. กินอาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) กินอาหารปรุงสุกใหม่ร้อนๆ กรณีอาหารเก็บเกิน 2 ชม. ควรนำมาอุ่นให้ร้อนทั่
  4. ไทยชนะ (Thai chana) ลงทะเบียนตามที่รัฐกำหนด ด้วย app ไทยชนะ หรือลงทะเบียนบันทึกการเข้า-ออกอย่างชัดเจน
  5. สำรวจตรวจสอบ (Check) สำรวจบุคคล นักเรียน กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง และ
  6. กักกันตัวเอง (Quarantine) กักกันตัวเอง 14 วัน เมื่อเข้าไปสัมผัสหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดโรค

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปึงบประมาณ พ.ศ. 2565


นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปึงบประมาณ พ.ศ. 2565

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง

นโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

1. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการบริหารจัดการและการพัฒนากำลังคนโดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารงานและการจัดการศึกษา

2. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สมารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

3. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายการศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco - System: TE2S) การศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand โดยให้ทุกหน่วยงานพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันอย่างรอบด้าน ครบถ้วนร่วมกันพิจารณาหาแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการร่วมกันแบบบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

1. ICT (Information and Communication Technologies) เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารประกอบด้วย 7 เรื่องย่อย ได้แก่

   1.1 Data Center ศูนย์ข้อมูลกลาง

   1.2 Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ (คลังข้อมูล การนำข้อมูลมารวมกัน)

   1.3 Platform (e-library e-learning และ Teaching Resource Platform)

   1.4 e-book

   1.5 e-office e-mail และ document

   1.6 ระบบบริหารจัดการห้องเรียน School และ Classroom Management

   1.7 โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure (Internet)

2. การจัดการองค์ความรู้และยกระดับทักษะที่จำเป็น เน้นพัฒนาความรู้และสมรรถนะด้าน Digital Literacy สำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันตามระดับและประเภทของการจัดการศึกษา เช่น STEM Coding เป็นต้น

3. การศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ พัฒนา 3 ทักษะหลัก ได้แก่ 1) โลกทัศน์อาชีพ 2) การเสริมทักษะใหม่ (Up Skl) และ 3) การเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Re-Skills) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย

   3.1 ผู้อยู่ในระบบการศึกษา (การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา)

   3.2 ผู้อยู่นอกระบบการศึกษา

   3.3 วัยแรงาน

   3.4 ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ (Digital Disruption) โดยเน้นเพิ่มบทบาทของ กศน. ในการ Re-Skills ด้านอาชีวศึกษากับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

4. การต่างประเทศ เน้นภารกิจที่ต้องใช้ความร่วมมือระดับนานาชาติในการจัดหาครูชาวต่างชาติให้แก่สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดการศึกษาในสถานศึกษา 2 ด้านหลัก ๆ ได้แก่    

   4.1 ด้านภาษาต่างประเทศ

   4.2 ด้านวิชาการ โดยเฉพาะอาชีวศึกษา 

5. กฎหมายและระเบียบ เน้นแผนงาน 2 เรื่อง ที่บรรจุอยู่ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประกอบด้วย

   เรื่องที่ 1 : การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง มีประเด็นปฏิรูป 5 ประเด็น ได้แก่

Ø  การมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... และมีการทบทวน จัดทำ แก้ไขและปรับปรุงกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง

Ø การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา

Ø  การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

Ø การทบทวนและปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ

Ø การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ

   เรื่องที่ 6 :  การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป 3 ประเด็น ได้แก่ สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ

6. ระบบบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร โดยรวบรวมหลักสูตรวิชาการของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดฝึกอบรมให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายและใช้ประโยชน์จากสถาบันพัฒนาที่มีอยู่แล้ว เช่น สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง
ในการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะสมรรถนะให้แก่บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารหน่วยงานทุกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ครู อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ) รวมทั้งพัฒนายกระดับให้เป็นสถาบันฝึกอบรมระดับนานาชาติ

7. การประชาสัมพันธ์ โดยจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตสื่อและจัดทำเนื้อหา (Content) เพื่อเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมและการเข้าร่วมงานต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานในภาพรวมของ ศธ.

8. การพัฒนาเด็กปฐมวัย ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

9. การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

10. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การยกระดับตอบรับอัตโนมัติเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Call Center ด้านกฎหมาย) การวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

11. การปฏิรูปองค์กรและโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

12. การพัฒนาครู ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพที่สูงขึ้น

13. การศึกษายกกำลังสอง โดย

Ø พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train the Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)

Ø จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ www.deep. go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสมารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform :DEEP)

Ø ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan: EIDP)

Ø จัดทำ "คู่มือมาตรฐานโรงเรียน" เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น

การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

   - มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำด้วยคุณภาพ โดยสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา และเติมเต็มช่องว่างระหว่างทักษะ (Full fll Skil Gaps) โดยขยายและยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน
เน้นร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำ (
Tailor-made Curriculum) ขับเคลื่อนความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสู่มาตรฐานนานาชาติ

   - มุ่งเน้น Re-Skills, Up Skill และ New Skill การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น รวมทั้งผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและสถานประกอบการ

   - มุ่งเน้นพัฒนาศูนย์ประสานงานกลางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (TVET Excellence Center) สู่มาตรฐานสากล ผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ รวมถึงการนำนวัตกรรม Digtal เพื่อมุ่งสู่การอาชีวศึกษาดิจิทัล (Digital College)

   - มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสด์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Technical Vocational Education and Training: TVET, Student Skill Set) รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในต่างประเทศและการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

   - มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษา สร้างภาพลักษณ์สถานศึกษาอาชีวศึกษา
เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียน

   - สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัย

การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

Ø ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

Ø ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่ยุติการศึกษาทั้งก่อนและหลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ

การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Ø เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Ø ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง

Ø ฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษาการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

Ø ปฏิรูปองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเป็นเอกภาพของหน่วยงาน

Ø ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม

Ø ยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่ใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

Ø พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)

การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ

1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นเป็นกรอบแนวทางในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณไว้

2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ้ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามลำดับโดยมีบทบาทภารกิจในการตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ

3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ

อนึ่ง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Asenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนเมื่อรัฐบาล หรือกระทรวง
ศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ.
2565 นอกเหนือจากที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดนั้นข้างตัน ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

..........................................

ประกาศโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการณ

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563




วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ได้ส่งสำเนาหนังสือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นการ แจ้งประชาสัมพันธ์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
  • เรื่องซื้อของออนไลน์อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา
  • เรื่องแปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
  • เรื่องศูนย์บริการดูแลเด็กผู้สูงอายุคนทุพพลภาพผู้ป่วยเพื่อให้ใช้ประโยชน์และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์แก่ นักเรียน ครู- บุคลากร 
และประชาชน  ทางโรงเรียนจึงมีเจตนารมณ์ ปกป้องช่วยดูแล ลดความเสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าโจมตีทางออนไลน์   เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่ปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบ  โดยร่วมมือประชาสัมพันธ์สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  



การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานครูและบุคลกรทางการศึกษาเทศบาล


นายสังวาลย์   คำจันทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวดอย  เป็นคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาล  ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  โดย คำสั่งเทศบาลตำบลท่าสาย  เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล  และพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานและความเป็นธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงาน  ในวันที่  7  ตุลาคม  2564  ณ เทศบาลตำบลท่าสาย  อ.เมืองเชียงราย  จ.เชียงราย  

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ติดตามโครงการอาหารกลางวันนักเรียน

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย และชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ตรวจ ติดตามโครงการอาหารกลางวันนักเรียน ตามแนวทางในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การทุจริต ณ โรงเรียนบ้านหัวดอย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยการลงพื้นที่ตรวจติดตามครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องปรามการทุจริตในลักษณะเชิงรุก ให้การดำเนินโครงการฯ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และการใช้จ่ายงบเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย


โครงการเศรฐกิจพอเพียง-ยุวเกษตรกร

              

ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ค่านิยมที่ดี มีทักษะชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มีความสำคัญต่อประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทยทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ พร้อมรับต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในทุกระดับเพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดความตระหนักรู้ภายในตนเองอย่างยั่งยืน ในการนี้ โรงเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาบูรณาการด้วยองค์ความรู้อันหลากหลาย โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้งานด้านการเกษตร และระบบสังคม บูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน


วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

บรรทัดฐานคืออะไร

บรรทัดฐานคืออะไรและเหตุใดเราต้องมีบรรทัดฐาน

บรรทัดฐานเป็นเฟรมเวิร์กที่สมาชิกในทีมยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ การให้ความสนใจในการพัฒนาและการยึดมั่นในบรรทัดฐานจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าทีมจะประสบความสำเร็จและส่งเสริมความสามารถของสมาชิกในการจัดการปัญหาสำคัญ บรรทัดฐานประกอบด้วยหลายองค์ประกอบที่สร้างไดนามิกให้ทีม

องค์ประกอบของบรรทัดฐานที่ต้องเตรียม

เราจะพบกันเมื่อใดและที่ไหน จะเริ่มตรงเวลาหรือไม่  

 

การฟังเราฟังเพื่อนๆ ของเราอย่างไร มีแนวคิดแย่ๆ หรือไม่ เราจะทำให้คนอื่นๆ หยุดส่งเสียงรบกวนขณะที่มีคนกำลังพูดได้อย่างไร  

 

การรักษาความลับเนื้อหาอะไรที่ควรมีการรักษาความลับ เราสามารถแชร์ข้อมูลใดได้บ้างหลังจบการประชุม  

 

การตัดสินใจเราจะตกลงกันได้อย่างไร ถ้าทุกคนไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของกลุ่มจะทำอย่างไร  

 

การมีส่วนร่วมสามารถเลือกเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมได้หรือไม่ เรามีนโนบายการเข้าร่วมประชุมหรือไม่  

สมาชิกไม่เข้าประชุมบ่อยครั้ง  

 

ความคาดหวังคุณคาดหวังอะไรจากสมาชิกในทีม เราจำเป็นต้องมีวิธีที่ทำให้สมาชิกแต่ละคนที่เข้าประชุมเตรียมข้อมูลที่เหมาะสมและรายการอื่นๆ มาด้วยหรือไม่  

  

ตัวอย่างบรรทัดฐานของทีม  

เราจะรักษาทัศนคติด้านบวกในระหว่างการประชุมได้อย่างไร  ราจะประชุมในหัวข้อและทำตามวาระการประชุม  


 เคล็ดลับ      

  • ทีมพัฒนาบรรทัดฐานของตนเอง  อ่านบรรทัดฐานในการประชุมแต่ละครั้ง  ยิ่งน้อยยิ่งดี  ถ้ามีการละเมิดบรรทัดฐานก็ควรแก้ไข  แสดงความคิดเห็นในการพัฒนาบรรทัดฐานเพื่อให้มั่นใจว่าได้ประโยชน์จาก  บรรทัดฐาน ถ้าสมาชิกในทีมไม่เข้าประชุมบ่อยครั้ง ทีมจะทำอย่างไร  การที่สมาชิกในทีมเซ็นต์เอกสารยอมรับบรรทัดฐานจะเป็นการยืนยันความหมายและความสำคัญ