ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑๕ เชียงราย ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กิจกรรมย่อยที่ ๑.๔ การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ  โดยกำหนดฝึกอบรมให้แก่นักเรียนในโรงเรียนบ้านหัวดอย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการเอาตัวรอดเมื่อเกิดสาธารณภัย และฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในโรงเรียน


                พิธีเปิดมอบนโยบายแก่ผู้เข้ารับการอบรม โดย นายอารุณ ปินตา ผู้อำนวยการ ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงรายโครงการบูรณาการสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย สนับสนุนระบบเดือนภัยพิบัติในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2  เป็นประธานเปิดการอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัย กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ณ โรงเรียนบ้านหัวดอย 


                สถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เป็นสิ่งที่มนุษย์เราไม่สามารถควบคุมได้ มนุษย์พยายามเรียนรู้ธรรมชาติของสาธารณภัยต่าง ๆ แล้วหาแนวทางป้องกันเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากสาธารณภัย ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและมีความถี่ของการเกิดมากยิ่งขึ้น สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก สาธารณภัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ หยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัยและตินโคลนถล่ม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว แต่ละเหตุการณ์มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปและอาจจะขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากต้องลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยในแต่ละเหตุการณ์จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ จิตอาสา รวมถึงประชาชน ล้วนแล้วแต่เป็นพลังสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัย มีการเชื่อมโยงบูรณาการการทำงานร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน และสิ่งสำคัญประการหนึ่งจะทำอย่างไรให้ถานศึกษา ชุมชน/หมู่บ้าน มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัย ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย  และหลังเกิดภัย ดังนั้นแนวทางในการลดความสูญเสียดังกล่าว จึงส่งเสริมให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาศักยภาพ ให้มีขีดความสามารถในการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นฐานรากที่มั่นคง มีการบัญชาการที่ชัดเจน มีความตระหนักร่วมดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ มีการป้องกัน และลดผลกระทบ ความเสียหายจากสาธารณภัย ตลอดจนฟื้นฟูสภาพความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การจัดการสาธารณภัยของประเทศไทยการประเมินความเสี่ยง/วิเคราะห์ปัญหาจัดลำดับความสำคัญกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาจัดตั้งคณะกรรมการจัดการสาธารณภัย

- อุบัติภัยในโรงเรียน
- สาธารณภัยในบริบทพื้นที่

ซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย

๑. ฐานฝึกการเอาตัวรอดจากอัคคีภัย
๒ ฐานฝึกการเอาตัวรอดจากภัยแผ่นดินไหว
๓.ฐานฝึกการปฐมพยาบาล CPR/ การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ
๔.ฐานการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและการใช้อุปกรณ์ทางน้ำ
๕. ฐานฝึกการซ้อมแผนการป้องกันฯ การอพยพ การบริหารจัดการฯ



 ผู้ประสานงานกิจกรรม 

  1. นางอรภา สะอาดเอี่ยม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  ศนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑๕ เชียงราย โทรศัพท์ ๐๘ ๐๔๙๘ ๑๕๖๗ 
  2. นางมาลิณี นันตรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ โทรศัพท์ ๐๖ ๑๒๕๘ ๘๒๕๘



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ

ช่วยแปล