ช่วยแปล


ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567

หนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์ แก้มแดง

 โรงเรียนบ้านหัวดอย ขอเชิญชวนนักเรียนและผู้ปกครองอ่านหนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์ โดยโรงเรียนได้ทำช่องทางการเข้าถึงสื่อผ่านเว็บของโรงเรียน / รักการอ่านเรียบร้อยแล้ว..................................................................

หนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์ แก้มแดง

 ด้วยกรมการศาสนา ได้จัดทำหนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์ แก้มแดง เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นหนังสืออันทรงคุณค่าจากกระแสพระราชดำริ  ที่พระราชทานผ่านภาพวาดฝีพระหัตถ์ที่ได้นำมาเป็นต้นแบบในการสร้างการ์ตูนแอนิเมชันและหนังสือการ์ตูน  ครอบครัวบ้านผูกโบว์ แก้มแดง นับเป็นนวัตกรรมทางความคิดด้านการปลูกฝังและส่งเสริมคุณธรรมอย่างสำคัญ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ เยาวชนและประชาชน   ในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ จึงเผยแพร่หนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์ แก้มแดงฯ ให้โรงเรียนที่มีรายชื่อตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สำหรับใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ คุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก เยาวชน รวมถึง เพื่อเป็นสื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีหลัก  ในการพัฒนาตนเอง สามารถเข้าชมหรือดาวน์โหลดไฟล์ E-book ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่

                       คลิก อ่าน                                                      คลิกฟังเพลง


โรงเรียนบ้านหัวดอย ขอเชิญชวนนักเรียนและผู้ปกครองอ่านหนังสือครอบครัวบ้านผูกโบว์
โดยโรงเรียนได้ทำช่องทางการเข้าถึงสื่อผ่านเว็บของโรงเรียน / รักการอ่านเรียบร้อยแล้ว........

ทั้งนี้ โรงเรียนได้ส่งแบบตอบรับหนังสือดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
ศธ ๐๔๐๔๓/ว๕๖๓๘     6 ธันวาคม 2567

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569



                   เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล หน่วยงานในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รวมทั้งสถานศึกษาในสังกัด สามารถปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามบริบทของพื้นที่ จึงขอแจ้งประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๖๙ เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตได้รับทราบและใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย แจ้งสถานศึกษาในสังกัดรับทราบด้วย

เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการสอดคล้องกับนโยบายทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๖๙ ดังนี้

1.ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

      • สร้างความรู้ ความเข้าใจการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในสถานศึกษาเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน
      • ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข



2.จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
      • พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตยในสังคมร่วมสมัย
      • พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ประชาธิปไตยและส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย


3. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลาย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
      • ปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย (อนุบาล ๑ - ๓) และระดับประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ ๑ -๓) ให้เป็นไปตามพัฒนาการและความสามารถตามช่วงวัย
      • ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
      • ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบการเรียนแบบ HybridVR GAMIFICATION Metaverse Digital Twin 3.0 Digital Classroom เป็นต้น
      • พัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้
      • ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฟี้นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      • ส่งเสริม พัฒนา ต่อยอดแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้้น
      • ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      • พัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA
5. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
      • ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
      • สร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ
      • ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดี และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
6. เร่งพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
      • สนับสนุนสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
      • ส่งเสริมองค์ความรู้ เจตคติและทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนและพี่เลี้ยงเด็กพิการ
      • ปรับปรุง พัฒนาห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
      • สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และทีมสหวิชาชีพ
      • นิเทศ กำกับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
      • สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา
      • ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์  ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฏศิลป์ ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
      • ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power อย่างเต็มศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
8. เสริมสร้างความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา
      • ส่งเสริม สนับสนุนความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการพาผู้เรียนไปนอกสถานศึกษา
      • สร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา
      • สร้างภูมิคุ้มกัน ปลูกฝัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา รวมทั้ง มีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เข้าสู่วงจรยาเสพติด
      • สร้างองค์ความรู้ในการรับมือกับภัย ๔ กลุ่ม ให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
      • รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบ OBEC Safety Center
      • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยอบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้
9. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
      • ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยเพื่อแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล "Thailand Zero Dropout"
      • ส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน เฝ้าระวัง และดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กไร้สัญชาติเด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ ตามความต้องการจำเป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษาโดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้
      • ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน โดยบุคคล ครอบครัว(Home School) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการ
10. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ทันสมัย
      • พัฒนาผู้บริหารสำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรส่วนกลาง ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์
11. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
      • แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
      • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้วยสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการสำหรับ
      • ครูและบุคลากรทางการศึกษา
      • สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใส
      • แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา
      • ยกเลิกครูเวร โดยจัดหานักการภารโรงครบทุกโรงเรียน
      • ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา และปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน
      • จัดหาอุปกรณ์การสอน และสวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอและเหมาะสม
      • บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
      • ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV/DLIT) และการจัดการสื่อสารทางไกลแบบสื่อสารสองทาง (IDL)
      • พัฒนาการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
11. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
      • เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) โดยมีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ "ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
      • ส่งเสริมการจัดทำแฟ้มประวัติผู้เรียนแบบออนไลน์ (Portfolio online)
      • ขับเคลื่อนโครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนคุณภาพ
      • สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนวการชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน
      • พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อใช้ในการสะสมหน่วยกิตและผลการเรียนของผู้เรียน (Credit Bank)
      • เสริมสร้างทักษะอาชีพที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) และการมีรายได้ระหว่างเรียน(Learn to Earn)
      • จัดให้มีอาหารสำหรับนักเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
      • ขับเคลื่อนโครงการ "สุขาดี มีความสุข" อย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้เรียนครูและบุคลากรทางศึกษา
13. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด โปร่งใสและตรวจสอบได้
      • พัฒนาการบริหารจัดการหน่วยงานในทุกระดับให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
      • ยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานทุกระดับ (ITA)
      • จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความปลอดภัย ให้กับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด
      • ปรับปรุงการบริหารจัดการงบประมาณและกฎหมายให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ



นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

           

                       คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีความสอดคล้องกับหมวด 5 หน้าที่ของรัฐและหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช 2561 – 2580 คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกำลังและความสามารถ รัฐบาลจะส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐาน เมื่อเติบโตก็ได้เรียนหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความสามารถทางกีฬา และพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ศักยภาพของผู้เรียน ลดภาระและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนสองภาษา โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นตัวช่วย เน้นการสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงเพื่อการสร้างรายได้ (Learn to Earn) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการเฟ้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้องทั้งส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคตและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมมอบนโยบายการศึกษาให้แก่ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ

             เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2569 โดยมุ่งมั่นสานต่อนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายใต้หลักการ “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และ การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ใช้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” มุ่งสร้าง“การศึกษาเท่าเทียม” ผ่านเครือข่ายการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัยให้ “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย ดังนี้

1. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
  1. พัฒนาและต่อยอดวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดขั้นตอน มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
  2. ย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น กลับภูมิลำเนาด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน
  3. พัฒนาและต่อยอดการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและเห็นผลเป็นรูปธรรม
  4. จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
  5. ดำเนินการยกเลิกครูเวรอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง “ชีวิตและความปลอดภัยของครูสำคัญกว่าทรัพย์สิน” ครูมีเวลาจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
  6. จัดหานักการภารโรง เพื่อช่วยลดภาระงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และช่วยรักษาความปลอดภัย
  7. ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน
  8. แก้ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา

​2. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง 
  1. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Drop out) ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 
  3. จัดให้มีโรงเรียนคุณภาพอย่างน้อย 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ
  4. พัฒนาระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตให้เป็นรูปธรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล  
  5. พัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นตอบโจทย์ศักยภาพผู้เรียน โดยมีระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ และมีระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา การประเมินผลการศึกษา ผ่านธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
  6. พัฒนาทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงของผู้เรียน มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) 
  7. จัดให้มีอาหารสำหรับนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  8. ส่งเสริมให้มีกระบวนการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้เรียน
  9. สร้างโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพ ตั้งแต่การศึกษาปฐมวัยจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต พร้อมการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และทักษะอาชีพที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill)
  10. นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะดิจิทัล และการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ
  11. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข
ให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2569 ข้างต้น ไปเป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาและการดำเนินงาน โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว และรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
.....................................................................................................................

การนำแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสรรหาบุคลากร

ระบบการอบรมพัฒนาการสร้างข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์รูปแบบ On Demand "เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา" โดย ศูนย์ PISA สพฐ.

1. สมัครเข้าอบรม คลิกที่นี่
2. ตรวจสอบรายชื่อและเลขประจำตัวผู้อบรม
https://sites.google.com/esdc.go.th/pisa-elearning-center/Home
3. เข้ารับการอบรมพัฒนา คลิกที่นี่ 
...............................................................................................................................................................
 
                ด้วย กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล นักเรียนทุกคนในทุกช่วงวัย รวมถึงข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ทุกระดับ "ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ" มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบให้เกิดประสิทธิภาพโดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาทุกตำแหน่งนำแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ซึ่งเป็นการประเมินศักยภาพบุคคลด้วยข้อสอบเชิงคิดวิเคราะห์ มาใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/การคัดเลือก และการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกตำแหน่ง ทุกระดับในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบเกิดประสิทธิภาพ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา  ดังนี้
  1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สถานศึกษาในสังกัด ปรับรูปแบบและวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับชั้นให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ซึ่งเป็นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่มุ่งเน้นการนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาที่ท้าทายที่พบเจอในชีวิตจริง และประเมินความสามารถในการขยายความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกโรงเรียนและอาจเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ (1) การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  (2) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ (๓) การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อสอบให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินตามแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA)
  2. การสรรหา โดยการสอบแข่งขัน/การคัดเลือก และการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาทุกฝ่ายทราบถึงนโยบายการนำแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA)มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/การคัดเลือก และการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ซึ่งแนวทางการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรนี้ มุ่งเน้นการประเมินสมรรถนะในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งโดยประเมินความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน คาดการณ์ ให้เหตุผล เสนอแนวทางการดำเนินงานอย่างมีหลักการ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาหรือประเด็นท้าทายด้านการศึกษา    หรือในบริบทที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานตำแหน่ง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาในการสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) แก่บุคลากรในสังกัด และดูแล กำกับ ติดตามให้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/การคัดเลือก และการคัดเลือกเพื่อเลื่อนแลแต่งตั้งบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว