ช่วยแปล


ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การทำสื่อสำหรับการรณรงค์

การเป็นอาสาสมัครในสถานการณ์ภัยพิบัตินั้นมีหน้าที่รับผิดชอบที่สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว ครูจะต้องสอนให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง มีการเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ มีความรู้เกี่ยวกับภัย  และมีทักษะในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น

  • รู้จักประเมินขีดจำกัดของตัวเอง ทั้งในด้านพละกำลัง จิตใจ รวมไปถึงทักษะความเชี่ยวชาญ
  • ทำความเข้าใจในงานกับเจ้าหน้าที่ก่อนปฏิบัติงาน และเข้าฝึกอบรมให้ครบตามข้อกำหนด
  • แต่งกายให้เหมาะสมกับงาน และรู้จักใช้อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันหรือรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
  • รับประทานอาหาร ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • อย่านำพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงหรืออันตราย 
  • รับทราบและวางแผนถึงช่องทางการติดต่อขอความช่วยเหลือ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
  • ในกรณีที่ต้องเผชิญเหตุการณ์อันตราย ควรรับมืออย่างมีสติ
  • รู้จักภัย ลักษณะการเกิดและผลกระทบ
  • หากต้องให้ความช่วยเหลือคนพิการ ให้สอบถามความต้องการของคนพิการหรือผู้ดูแลก่อนเสมอ

หลักการเบื้องต้นในการจัดทำสื่อรณรงค์

  • สื่อรณรงค์มีเป้าหมาย 3 ขั้นตอน คือ เพื่อให้ความรู้ เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรมหรือทั้ง 3 อย่าง
  • สื่อรณรงค์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ละคร รายการวิทยุ โปสเตอร์ แผ่นพับ ฯลฯ การรณรงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเลือกใช้สื่อได้มากกว่า 1 ประเภท นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการจัดทำสื่อรณรงค์ที่เข้าถึงคนพิการทุกประเภท เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือการเรียนรู้สำหรับเด็กนักเรียนที่มีความพิการทางสายตา การใช้สื่อภาษามือที่ถูกต้องสำหรับเด็กที่พิการทางการได้ยิน การใช้ล่ามภาษามือ การผลิตสื่อทางการเห็นค์สำหรับเด็กพิการทางการได้ยิน ตลอดจนการเลือกใช้ช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความพิการ
  • การจัดทำสื่อรณรงค์ต้องมีกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบของสื่อชัดเจนและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    • มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ผู้หญิง แม่บ้าน เด็ก เด็กพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ผู้ชาย ผู้ชายวัยรุ่น เป็นต้น
    • มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าการรณรงค์นั้นเพื่อเปลี่ยนแปลงอะไร : ความรู้ ทัศนคติ หรือพฤติกรรม

การจัดทำสื่อรณรงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ ต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

  • สถานการณ์เดิมก่อนจัดทำสื่อรณรงค์ เช่น ชุมชนหนึ่งซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ผู้ชายมักยืนยันจะอยู่บ้าน ไม่ยอมอพยพหนี 
  • ความรู้ พฤติกรรม หรือทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายที่นำไปสู่ความเสี่ยง เช่น เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่า พฤติกรรมที่ไม่ยอมอพยพออกจากที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง นำไปสู่ความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงที่อยากให้เกิดขึ้นหลังจากเผยแพร่สื่อรณรงค์  เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อเผยแพร่สื่อรณรงค์ไปแล้ว กลุ่มเป้าหมายมีความรู้มากขึ้น (ว่าการไม่อพยพหนีออกจากบ้านในช่วงน้ำท่วมอาจก่อให้เกิดความเสียหาย) ปรับเปลี่ยนทัศนคติ (ว่าชีวิตสำคัญกว่าทรัพย์สิน ควรหนีเอาตัวรอดก่อน) และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จัดทำแผนเตรียมการเพื่ออพยพในกรณีที่เกิดน้ำท่วม) เป็นต้น

ขั้นตอนการจัดทำสื่อรณรงค์

ขั้น 1 การประเมินสถานการณ์  คือการวิเคราะห์ว่าชุมชนมีความเสี่ยงต่อภัยชนิดใด ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อสารด้วย และสื่อสารว่าอะไร

ขั้น 2 การวางแผนทำสื่อรณรงค์  คือการจัดออกแบบกระบวนการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยประเมินว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเป้าหมายรอง กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร กำหนดสารหลัก เลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับถ่ายทอดสารและวางแผนปฏิบัติการรณรงค์และงบประมาณ

ขั้น 3 การผลิตสื่อรณรงค์  เป็นขั้นตอนการผลิตสื่อตามแผน โดยสื่อรณรงค์ และสารที่ได้รับการออกแบบต้องชัดเจน และเผยแพร่ในช่องทางที่เหมาะสม

ขั้น 4 การทดสอบสื่อ   คือการนำสื่อรณรงค์ที่ออกแบบไว้ไปขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มเป้าหมายว่า สื่อนั้นมีข้อมูลถูกต้องหรือไม่ ชัดเจนหรือไม่ และนำเสนอสารตามที่ต้องการหรือไม่

ขั้น 5 การประเมินผลสื่อรณรงค์   หาผลลัพธ์จากการเผยแพร่สื่อเกิดขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และช่วยให้เราแก้ไขข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ที่มา:Thaisafeschools.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับข้อติชมครับ